การมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • ธีรทัศน์ โรจน์กิจจากุล

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การบูรณาการ, ภาคประชาสังคม,ทรัพยากรธรรมชาติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาคประชาสังคมในจังหวัดน่าน 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาคประชาสังคมในจังหวัดน่าน และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและภาคประชาสังคมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูป/คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 ประชากรได้แก่ บุคลากรภาครัฐและภาคประชาสังคม จำนวน 241 คน และกลุ่มตัวอย่าง จานวน 172 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple random sampling) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปร สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's correlation)

ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพทั่วไปของการมีส่วนร่วมในการวางแผนเกี่ยวการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ป่าไม้) ระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมในจังหวัดน่านนั้น ในภาพรวมทุกภาคส่วนในจังหวัดน่าน มีความตื่นตัวและให้ความสำคัญในเรื่องป่าไม้ในการบริหารจัดการ ปัจจุบันมีการตัดสินใจร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคม เช่น องค์กรบริหารส่วนจังหวัดจะเปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านผลประโยชน์ โดยทางอ้อม เช่น การมีอากาศดี ชีวิตดีขึ้นฝนตกตามฤดู น้าไม่ท่วม การที่จานวนป่าไม่ถูกทาลาย หรือมีจานวนมากยิ่งขึ้น การประเมินเป็นไปตามกฎหมายซึ่งมีบุคลากรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วม แต่เมื่อการประเมินผลร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคประชาสังคมนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการประเมินผลโดยการช่วยตรวจสอบ

2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาคประชาสังคมในจังหวัดน่าน ภาครัฐและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาคประชาสังคมในจังหวัดน่าน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาโดยเรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การมีส่วนร่วมได้รับผลประโยชน์ รองลงมาได้แก่ การมีส่วนร่วมในการดาเนินงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมในการวางแผนและด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการดำเนินงาน ตามลำดับ เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านหลักสาราณียธรรมมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของภาครัฐและภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของภาคประชาสังคมในจังหวัดน่าน โดยหลักสาราณียธรรมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการมีส่วนร่วมเชิงบูรณาการภาครัฐและภาคประชาสังคมเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัดน่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 กล่าวคือ ที่มีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูงในประเด็น ร่วมกันรับผลประโยชน์ (Y4) มีค่าเท่ากับ 0.749 ร่วมกันตัดสินใจ (Y2) มีค่าเท่ากับ 0.711 ร่วมกันวางแผน (Y1) มีค่าเท่ากับ .688 ร่วมกันประเมินผล (Y5) มีค่าเท่ากับ 0.681 ร่วมกันดาเนินงาน (Y3) มีค่าเท่ากับ 0.658

3. รูปแบบการมีส่วนร่วมในการวางแผน การตัดสินใจ การดาเนินการ การรับผลประโยชน์ และการประเมินผล โดยการนาหลักธรรมที่ทาให้ทั้งส่วนภาครัฐและภาคประชาสังคมส่งเสริมและสนับสนุนให้การมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ นั้นมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอันได้แก่ ซึ่งกันและกันนั้น คือ หลักสาราณียธรรม 6 ทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ควรแสดงอาการกิริยาสุภาพ เคารพนับถือกัน ประพฤติดีมีคุณธรรมทั้งต่อหน้าและลับหลัง โดยการบอกกล่าวและแจ้งเตือนสิ่งที่เป็นประโยชน์ ด้วยความปรารถนาดี คิดทาสิ่งดีที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ในการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ได้มาโดยชอบธรรม ด้วยการรักษาระเบียบวินัยของส่วนรวม และเคารพรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทาให้การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ(ป่าไม้) ในจังหวัดน่าน เป็นไปอย่างยั่งยืน

References

BounphengVongnobountham. (2550). People’s Participation in Forest Resources Management: A Case Study of People in Xaythany District in the Capital of Vientiane. (Doctoral Dissertation). Chiang mai : Chiang mai University.
Cohen. J.M. and Uphoff. (1984). The Cornell Rural Development Participation Project. Rural Development Review. KanjanaDamjutti. (2557). The Buddhist Promoting Method Community Leader’s Participation in The Local Administration of Bangkok Metropolitan. (DoctoralDissertation).Bangkok:Mahachulalongkorn tajavidyalaya University.
Office of Nan province. (2558). Nan Provincial Development PlanB.C. 2558 – 2561. Nan :Office of Nan province.
PhaBrahmagunabhorn (P.A. Payutto).(2553). A Constitution for Living. Bangkok: Printed at Sahadhammika.
PrawitTantalanukul. (2555). Nan Chronicles : Issue Watphrathatchaehaeng. Chiangmai :ChiangmaisangsilPrinting
SukhumanPrasomsak. (2557). The Participation Strategy of People Regarding The Buddhism Moral Code in Environmental Management of Provincial Administration Organization in The Upper Central Provinces (Doctoral
Dissertation).Bangkok : Mahachulalongkorntajavidyalaya University.
WichainRujidhamrongkul.(2557).The Roles and Mechanisms of Government, Private sectorand Civil society in Solve environmental problems of Thailand. (Doctoral Dissertation).Bangkok:Ramkhamhaeng University.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-16