การศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยและการศึกษาข้อมูลเอกสาร (Documentary Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทยซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจาก เอกสารทางวิชาการ วารสาร บทความ วิทยานิพนธ์และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เป็นข้อมูลเบื้องต้นจากนั้นนำข้อมูลเหล่านี้มาพิจารณาร่วมกับแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ที่มีประเด็นคาถามที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย แนวคิดกิจการวิสาหกิจชุมชน แนวคิดภูมิ
ปัญญาท้องถิ่นและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องทฤษฏีการบริหารจัดการ ทฤษฎีประสิทธิผลการจัดการ ได้นามาวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วนามาซึ่งกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยตัวแปรแฝงด้านการสนับสนุนจากภาครัฐประกอบด้วย งบประมาณบุคลากร(ให้ความรู้) การสร้างเครือข่าย ตัวแปรแฝงด้านภาวะผู้นาของชุมชน ประกอบด้วย การได้รับการแต่งตั้ง การได้รับการยอมรับ ตัวแปรแฝงด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติ การจัดสรรประโยชน์ การติดตามและประเมินผล ตัวแปรแฝงด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบด้วย อัตลักษณ์ของท้องถิ่นความเชื่อมโยงประสบการณ์ ความรับผิดชอบต่อสังคม ตัวแปรแฝงด้านการเป็นผู้ประกอบการ ประกอบด้วย การสร้างภาพลักษณ์ การเพิ่มยอดขาย เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยที่กล่าวมาเป็นปัจจัยการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: สานักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.
กรมวิชาการ. (2542). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (2548). SMEs กับการสร้างมาตรฐานผลิตกัณฑ์ชุมชน (มผช.).กรุงเทพฯ: กรมกรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพมหานคร.
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2548). การจัดการองค์ความรู้ในองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัทเอ็กซ์เปอร์เน็ท จากัด.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และพิทยา ว่องกุล. (2545). วิสาหกิจชุมชน กลไกเศรษฐกิจฐานราก.กรุงเทพฯ : บริษัท เอดิสันเพรส จากัด.
ธงชัย สันติวงษ์. (2538). หลักการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 6 กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.
ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2547). การจัดการความรู้ ฉบับมือใหม่หัดขับ. กรุงเทพฯ : ใยไหม.
ทยา บวรวัฒนา. (2540). ทฤษฎีองค์กรสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2549). สังคมวิทยาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณมาฆะ เกสรดอกไม้. (2559). การบริหารของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง : ปัญหาและความไม่ต่อเนื่อง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ปีที่ 5(3),125-132 กันยายน-ธันวาคม 2559
ศิริณา จิตต์จรัส (2559) แนวทางการพัฒนาบริการธุรกิจสินค้าชุมชนของไปรษณีย์ไทย. วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ปีที่ 5(3),241-254 กันยายน-ธันวาคม 2559
ณัฏฐ์ หลักชัยกุล และจรูญศรีมาดิลกโกวิท. (2555). แนวทางการเพิ่มประสิทธิผลกิจกรรมทางเศรษฐกิจของกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ปีที่
3(1),48-62 กันยายน-ธันวาคม 2555

เผยแพร่แล้ว

2020-04-11