ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ชนิตา ชุมศรี

คำสำคัญ:

การปลูกปาล์มน้ำมัน; ความสัมพันธ์; จังหวัดสุราษฎร์ธานี

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจปัจจัยทางสังคม ความรู้เกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน และการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย ส่วนบุคคล ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยทางสังคม และความรู้เกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมัน กับการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร และ 3) เพื่อศึกษา ปัญหาและข้อเสนอแนะในการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จ้านวน 220 คน ค้านวณโดยสูตรทาโร่ ยามาเน่ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่้าสุด ค่าสูงสุด และการทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 73.2 อายุเฉลี่ย 49.39 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา จ้านวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.09 คน ประสบการณ์ในการ ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 15.38 ปี พื้นที่ท้าการเกษตรเฉลี่ย 43.10 ไร่ พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 31.00 ไร่ จ้านวนแรงงานในการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 4.21 คน รายจ่ายในการปลูกปาล์มน้ำมัน เฉลี่ย 100,858.50 บาทต่อปี และรายได้จากการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ย 338,366.36 บาทต่อปี เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มใดๆ มีความรู้เกี่ยวกับการปลูกปาล์มน้ำมันระดับมาก เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ลูกผสมเทเนอร่า พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีการวางแนวปลูกปาล์มน้ำมันแบบสามเหลี่ยมด้านเท่า มีจ้านวนผลผลิตเฉลี่ย 2,554.86 กิโลกรัมต่อไร่
และมีการจำหน่ายผลผลิตกับโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า อายุ มีความสัมพันธ์กับแมลงที่เป็นศัตรูปาล์มน้ำมันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ประสบการณ์ในการปลูกปาล์มน้ำมัน พื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันแรงงานในการปลูกปาล์มน้ำมัน รายจ่ายในการปลูกปาล์มน้ำมัน และรายได้จากการปลูกปาล์มน้ำมันมีความสัมพันธ์กับจ้านวนผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 การเป็นสมาชิกกลุ่มปาล์มน้ำมัน มีความสัมพันธ์กับแหล่งที่มาของพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
และการเป็นสมาชิกกลุ่มปาล์มน้ำมัน มีความสัมพันธ์กับแหล่งจำหน่ายผลผลิตปาล์มน้ำมัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัญหาในการปลูกปาล์มน้ำมันที่พบคือ ต้นทุนการผลิตมีราคาสูง การระบาดของด้วงแรด และความผันผวนของราคาปาล์มน้ำมันที่จำหน่าย

References

Theera Eksomtramage. (2554). Oil Palm Breeding. Bangkok : OS Printing House.
Office of Agricultural Economics. (30 August 2016). Forecasting of Agricultural Production. [online]. Available Source : http://www.oae.go.th/download/forecast/forecastofmarch59.pdf Surat Thani Provincial Agricultural Extension Office. (15 August 2016). Information on Registration of Farmers Planting Oil Palm. [online]. Available Source : http:// www.suratthani.doae.go.th/index2.html
Phrasaeng District Agricultural Extension Office. (28 August 2016). Area of Oil Palm Planting. [online]. Available Source : http://phrasaeng.suratthani.doae.go.th/ homepage/index.php/palmphrasaeng
Sakarin Bunrit. (2555). Opinion on Oil Palm Plantation of Farmers in Nong Sua District, Pathum Thani Province. (Master of Science). Graduate School : Kasetsart University.
Chanwit Somwong. (2552). Opinions on Oil Palm Growing of Oil Palm Planters in Thung Yai District, Nakhon Si Thammarat Province. (Master of Science). Graduate School : Kasetsart University.
Chulita Somkaew. (2552). Adoption of Oil Palm Cultivation of Farmers at Tambon Tarsatonh, Amphur Phunpin, Changwat Surat-Thani. (Master of Science). Graduate School : Kasetsart University.
Department of Agriculture. (2547). Technical Oil Palm. Bangkok : Ministry of Agriculture and Cooperatives.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-11

How to Cite

ชุมศรี ช. . (2020). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปลูกปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ตำบลบางสวรรค์ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 597–608. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241629