การบริหารการพัฒนาเชิงพุทธ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
การบริหารการพัฒนา, เชิงพุทธ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม 2. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการบริหารการ พัฒนา 3. เพื่อนาเสนอแนวทางการบริหารการพัฒนาเชิงพุทธเพื่อการบริหารงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม การวิจัยนี้ เป็นการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่ใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงการสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลสาคัญ 25 รูป/คน เพื่อหาการบริหารการพัฒนา เชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคาม นาไปวิเคราะห์แบบพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดมหาสารคามพบว่า ด้าน นโยบาย มีการบริหารการพัฒนาตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ด้าน แผนงานมีการประชาสัมพันธ์ให้รู้ล่วงหน้าเพื่อจัดประชุมทาแผนงานร่วมกัน มีการลงพื้นที่จริงเพื่อประชุมประชาสมาคมสารวจปัญหาร่วมกันทุกปี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีการจัดทาแผนงาน
ร่วมกันเพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามสภาพความเป็นจริง มีการจัดเรียงลาดับปัญหาที่เร่งด่วนตามความเดือดร้อนของประชาชนในท้องถิ่น มีการทบทวนขั้นตอนการทางานตามพระราชบัญญัติกาหนดแผนและขั้นตอน ด้าน โครงการ มีการพิจารณาจัดทาโครงการและกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้บริหารท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่
2. หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา พบว่า หลักพละ 5 ประการ ได้แก่ 1)สัทธาพละ ความเชื่อมั่น 2) วิริยพละ ความเพียร 3) สติพละ ความรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง 4) สมาธิพละ ความมุ่งมั่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย 5) ปัญญาพละ ความรอบรู้ เป็นธรรมที่มีความสาคัญ เป็นอย่างยิ่งต่อส่งเสริมการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลต่อประชาชนในท้องถิ่น
3. แนวทางการบริหารการพัฒนาเชิงพุทธขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด มหาสารคาม พบว่า การบริหารการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเริ่มต้นจากการส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนโดยเฉพาะจะต้องมีพระสงฆ์เป็นผู้นาทางจิตวิญญาณเข้ามามีส่วนร่วมด้วยทั้งนี้ ในการกาหนดการบริหารการพัฒนา ด้าน นโยบาย แผนงาน โครงการ จะต้องมีการบูรณาการร่วมกับหลักพุทธธรรมมาใช้เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตควบคู่ไปกับการจัดทาประชาคมเกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา 3 แนวทาง คือ 1) แนวทางการบริหารการพัฒนาด้าน นโยบายเชิงพุทธ 2) แนวทางการบริหารการพัฒนา ด้าน แผนงานเชิงพุทธ และ แนวทางการบริหารการพัฒนา ด้าน โครงการเชิงพุทธ ใน 3 ด้านดังกล่าวมานี้ มีการบูรณาการร่วมกับหลักพุทธธรรม ที่เกี่ยวกับการบริหารการพัฒนา คือ หลักพละ 5 ประการ โดยแต่ละด้านมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือ 1) การบริหารการพัฒนา ด้าน นโยบายเชิงพุทธ จะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) นโยบายสัทธาพละ (2) นโยบายวิริยพละ (3) นโยบายสติพละ (4) นโยบายสมาธิพละ (5) นโยบาย ปัญญาพละ 2) การบริหารการพัฒนา ด้าน แผนงานเชิงพุทธ จะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แผนงานสัทธาพละ (2) แผนงานวิริยพละ (3) แผนงานสติพละ (4) แผนงานสมาธิพละ (5) แผนงาน ปัญญาพละ 3) การบริหารการพัฒนา ด้าน โครงการเชิงพุทธ จะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) โครงการสัทธาพละ (2) โครงการวิริยพละ (3) โครงการสติพละ (4) โครงการสมาธิพละ (5) โครงการ ปัญญาพละ ทั้ง 3 นี้ เป็นแนวทางของการบริหารการพัฒนาเชิงพุทธที่เป็นองค์ความรู้ที่ได้จากการ วิจัย และเป็นองค์ความรู้ที่มีส่วนสาคัญในการช่วยส่งเสริมการบริหารการพัฒนาขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้
References
Implementation Analysis : The Wyatt vs. Stickney Decision, Internation
Jouranl of Public Administration 9 (4).
David Easton. (1953). The Political System An Inquiry in to the State of Political
Science, New York : Alfred A. Knorf.
Dennis A. Rondenelli. (1983). Development Projects as Policy Experiments : An
Adaptive Approach to Development Administration. London and New
York : Methuen
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น