ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ (ปล้องขัน)

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นาเชิงพุทธ, การพัฒนาชุมชน, จังหวัดน่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้นาชุมชนใน
จังหวัดน่าน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการ
พัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน และ 3. เพื่อนาเสนอการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนา
ชุมชนในจังหวัดน่าน การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย
เชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.981 ในการเก็บข้อมูลซึ่งผู้วิจัยได้
เก็บข้อมูลด้วยตนเองกับกลุ่มตัวอย่างคือ นักพัฒนาชุมชน จานวน 94 คน ในจังหวัดน่านทั้งหมดเป็น
กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลโดย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ
ทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือคือแบบ
สัมภาษณ์เชิงลึกโดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสาคัญจานวน 22 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ
ผู้ทรงคุณวุฒิจานวน 10 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้นาชุมชนในจังหวัดน่าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
 เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะทางด้านเทคนิคงาน (Technical skill) ทักษะ
ทางด้านเทคนิคคน (Human skill) และทักษะทางด้านความคิด (Conceptual skill) อยู่ในระดับ
มาก คุณลักษณะภาวะผู้นำทั้ง 3 ประการนี้ เป็นคุณลักษณะภาวะผู้นาของผู้นาชุมชนในจังหวัดน่าน ก็คือ
ทักษะของผู้บริหาร ในยุคปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าผู้บริหารต้องทางานหนักกว่าในอดีต จะต้อง
พัฒนาตนเองหลายด้านกว่าในอดีต เนื่องจากเป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร จึงจาเป็นต้องเรียนรู้
เทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา ผู้บริหารในยุคปัจจุบันจะต้องเรียนรู้งานด้านประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเพื่อ
เป็นการประชาสัมพันธ์ตนเองและองค์กร ผู้บริหารที่ดีต้องเป็นคนที่ต้องอดทนต้องแรงเสียดทานซึ่งมี
มากกว่าในอดีต
2. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณลักษณะภาวะผู้นาเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชน
ในจังหวัดน่าน พบว่า ภาวะผู้นาตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ใน
ระดับสูง (r=0.830) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และทักษะการบริหารมีความสัมพันธ์ ใน
ภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูง (r=0.788) อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 จึง
ยอมรับสมมติฐานการวิจัย ในขณะเดียวกันหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนามีส่วนช่วยส่งเสริมและ
สนับสนุนให้ผู้นามีหลักในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น หลักพุทธธรรม
สาหรับพัฒนาภาวะผู้นาแล้วนับว่าเป็นเรื่องใหญ่และสาคัญมาก เพราะว่าผู้นาจาเป็นต้องมีหลักธรรม
ประจาตัวในการมีชีวิตอยู่ในสังคม และมีความหมายต่อสังคม หลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นหลักธรรม
ของสัตบุรุษธรรม ที่ทาให้เป็นสัตบุรุษ ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติของคนดี สัตบุรุษ หมายถึง คนที่มีความ
ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ คือ มีพฤติกรรมถูกต้องตามทานองคลองธรรมหรือเรียบร้อยดีไม่มี
โทษ เป็นผู้มีจิตสงบระงับจากบาปอกุศลธรรม ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนมา
ซึ่งจะสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในชุมชน หลักสัปปุริสธรรม 7 ประกอบด้วย
ความเป็นผู้รู้จักเหตุ ความเป็นผู้รู้จักผล ความเป็นผู้รู้จักตน ความเป็นผู้รู้จักประมาณหรือรู้จักความ
พอเพียง ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาหรือรู้จักเวลาที่เหมาะที่ควร ความเป็นผู้รู้จักชุมชนและสังคม และ
ความเป็นผู้รู้บุคคลหรือรู้จักเลือกใช้บุคคลที่เหมาะกับงาน
3. การพัฒนาภาวะผู้นาเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน ประกอบด้วย
3 ด้าน คือ การเสริมสร้างขีดความสามารถการบริหารงานชุมชน คือ เสริมสร้างพลังเครือข่ายชุมชน
ให้มีการพัฒนากลไกการบริหารจัดการชุมชนและส่งเสริมแผนพัฒนาชุมชนสู่นโยบายระดับชาติการ
เสริมสร้างองค์กรให้มีขีดสมรรถนะสูง คือ การบริหารยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนให้คุณภาพอย่าง
ต่อเนื่อง และสร้างภาพลักษณ์องค์กรในทิศทางที่ดี การสร้างสรรค์ชุมชนอยู่เย็นเป็นสุข สร้าง
เครือข่ายการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเป็นระบบเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อเสริมสร้างความสุข
มวลรวมชุมชนโดยพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และส่งเสริมกระบวนการเสริมสร้างความสุข
มวลรวมของชุมชนโดยสานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน ควรปรับกระบวนทัศน์ในการพัฒนาโดย
ใช้รูปแบบการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน เพื่อเป็นกระบวนการขั้นตอนการทางานกับชุนให้มี
ประสิทธิภาพ ให้เอื้อต่อการพัฒนาประชาชนโดยจัดทาแผนแม่บทของชุมชนโดยแผนแม่บทเกิดจาก
ความคิดของประชาชนในชุมชน โดยวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของชุมชนเพื่อนามาเป็นส่วนหนึ่งใน
การจัดการให้ชุมชน และจัดการระบบข้อมูล เพื่อสนับสนุนข้อมูลและองค์ความรู้ที่จาเป็นต่อการ
พัฒนาการทางาน และควรสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานองค์กร ภาคีอื่นๆ เพื่อขอความร่วมมือใน

การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น จัดการฝึกอบรมพัฒนาสร้างงานอาชีพหรือองค์ความรู้อื่นๆที่
ประชาชนต้องการ เป็นต้น เพื่อให้การพัฒนาชุมชนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อยู่ด้วยกันอย่าง
สันติสุขโดยการประยุกต์ใช้ หลักสัปปุริสธรรม 7 ในการพัฒนาชุมชนด้วย

References

Aumporn Wongsopa. (2556). Pattern of Buddhist Leadership According to Virtues of
a Gentleman Principle of Local Government: A Case Study of People’s
Opinions of Sunpatong District, Chiangmai Province. (Doctoral
Dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University.
ApitchayanutSopa Aobsin. (2558) Pattern of Buddhist Leadership Development in
Organization Mangement of Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
(Doctoral Dissertation). Ayuthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya
University
Chan Takkavijarn. (2550). Human Resources Development based on Buddhism
Concept. (Doctoral Dissertation). Bangkok: Ramkhamhang University.
Phrakru Wachirakhunpiput. (2558). Leadership Development of An Ecclesiastical
Official. of Sangha The 4 Ecclesiastical Regional Administration. (Doctoral
Dissertation). Bangkok: Chulalongkorn University.
Tatsanee Luckkanapichonchut. (2545). Social Community Administration for
Strengthening the Urban Society. (Research Report). Bangkok: Thammasat
University.
Thongchai Sing-udom.(2556) Leadership Development of Sangha The 8
Ecclesiastical Regional Administration. (Doctoral Dissertation.(Ayuddhaya:
Mahaculalongkornrajavidyalaya University)
Sonthaya Tuntiwetchakul. (2553). Social Development Theory and Principle.
Bangkok: Odean Store Press.
Sumet Tuntiwetchakul. Strategies for Rural Development According to His Majesty’s
the King. Encyclopedia for Youth. 12

เผยแพร่แล้ว

2020-04-11

How to Cite

วชิรปญฺโญ (ปล้องขัน) พ. . (2020). ภาวะผู้นำเชิงพุทธเพื่อบูรณาการพัฒนาชุมชนในจังหวัดน่าน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 433–448. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241617