รูปแบบการทำงานเป็นทีมตามแนวพระพุทธศาสนา ของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
รูปแบบการทางานเป็นทีม, เทศบาลในจังหวัดพิษณุโลกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการทางานเป็นทีมของบุคลากร
เทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาหลักการทางานเป็นทีมกับหลักคาสอนทาง
พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับการทางานเป็นทีมของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก และ 3)
เพื่อเสนอรูปแบบการทางานเป็นทีมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรเทศบาลในจังหวัด
พิษณุโลก การศึกษาครั้งนี้เป็นวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ผู้วิจัยได้มุ่งเน้นศึกษารูปแบบการทางานเป็นทีม
ตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก โดยวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีการแจก
แบบสอบถามแก่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 294 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิธีเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูล
สาคัญ จานวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 8 รูป/คน วิเคราะห์
ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพการทางานเป็นทีมของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ในเทศบาลและ
บุคลากรของเทศบาลได้มีการทางานเป็นทีมอยู่แล้ว แต่อยู่ในรูปของการทางานร่วมกันตาม
วัตถุประสงค์ของแผนงานหรือโครงการ และปัจจุบันเทศบาลและบุคลากรของเทศบาลก็รับทราบถึง
การทางานเป็นทีม มีการอบรมเพื่อนาไปสู่การปฏิบัติจริง โดยเฉพาะเมื่อมีการทางานตามแผนงาน
หรือโครงการที่ตั้งไว้ก็จะปรากฏเห็นได้ชัดในการร่วมคิด ร่วมทา ร่วมแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้นเพื่อให้
สาเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนงานหรือโครงการ โดยผู้บริหารให้ความสนับสนุนในนโยบายและ
งบประมาณ
2) หลักการทางานเป็นทีมกับหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับการทางาน
เป็นทีมของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก เป็นการประยุกต์ใช้หลักการทางานเป็นทีมกับหลัก
คาสอนทางพระพุทธศาสนาในแผนงานหรือโครงการของเทศบาล กล่าวคือ ในหลักการทางานเป็น
ทีมของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ทีมแก้ปัญหา 2) ทีมงาน
บริหารตนเอง 3) ทีมประสานข้ามสายงาน และ 4) ทีมเสมือนจริง โดยทุกด้านมีระดับความคิดเห็น
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนหลักคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่เหมาะสมกับการทางานเป็นทีม
ของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่หลักอปหานิยธรรม 7 คือ 1) หมั่นประชุมกัน
เนืองนิตย์ 2) พร้อมเพรียงกันประชุมและเลิกประชุม 3) ไม่ตั้งกฎระเบียบที่ขัดต่อระเบียบเดิม
4) มีความเคารพต่อผู้บังคับบัญชา 5) ให้ความเคารพต่อเพศสตรี 6) ให้ความเคารพต่อสถานที่ และ
7) ให้ความดูแลเอาใจใส่ต่อผู้มาเยือน โดยทุกข้อมีระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
3) รูปแบบการทางานเป็นทีมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรเทศบาลในจังหวัด
พิษณุโลก ประกอบด้วย 11 รูปแบบ คือ รูปแบบด้านหลักการทางานเป็นทีม 4 รูปแบบ และรูปแบบ
ด้านหลักธรรมตามแนวพระพุทธศาสนา คือหลักอปหานิยธรรม 7 รูปแบบ ซึ่งเมื่อสังเคราะห์เข้า
ด้วยกันได้เป็น รูปแบบการทางานเป็นทีมตามแนวพระพุทธศาสนาของบุคลากรเทศบาลในจังหวัด
พิษณุโลก โดยในการนาไปประยุกต์ต้องปรับเปลี่ยนบูรณาการให้เหมาะสมกับบริบทของเทศบาลนั้น
ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดของเทศบาล อันเป็นเหตุให้เกิดประโยชน์สุขแก่
ประชาชน
References
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หนังสือและสื่อเผยแพร่สานักงานประชาสัมพันธ์ สานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555).
การปกครองส่วนท้องถิ่นและอานาจหน้าที่ของกานันและผู้ใหญ่บ้าน. กรุงเทพมหานคร :
สานักพิมพ์เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
ธิติวุฒิ หมั่นมี. (2556). “การสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”.พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุทิน สุทิโน. (2557). “การบริหารจัดการเครือข่ายเชิงพุทธ ของกลุ่มโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมแผนกสามัญศึกษากลุ่ม 1”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พิรัชย์ ศรีราม. (2556). “ยุทธศาสตร์การพัฒนาธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
หลักพุทธธรรมในเขตจังหวัดภาคกลางตอนบน”. พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสน
ศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุดาภรณ์ อรุณดี. (2551). “ยุทธศาสตร์การพัฒนาทุนมนุษย์สู่ระดับโลกในศตวรรษที่ 21 กรณีศึกษา
การพัฒนาสมรรถนะทุนมนุษย์ตามหลักพุทธญาณวิทยา และรูปแบบการจัดการทักษะ
ความรู้ (รูปแบบ KSM Model)”. รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น