การพัฒนาทีมงานของบุคลากรตามหลักพุทธธรรม ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
คำสำคัญ:
การพัฒนาทีมงานของบุคลากร, หลักพุทธธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการพัฒนาทีมงานของบุคลากร
ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2) เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนา
ทีมงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (3) เพื่อนาเสนอแนวทางการ
พัฒนาทีมงานตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลสองขั้นตอน ขั้นตอนที่หนึ่งจากผู้ให้
ข้อมูลหลัก 30 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาทีมงาน
ตามหลักพุทธธรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญ
เกี่ยวกับหลักพุทธธรรม ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบ
ตัวต่อตัว ขั้นตอนที่สองเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะจานวน 10 รูป/คนเลือก
แบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนด้วยการพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพทั่วไปในการพัฒนาทีมงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัยในการพัฒนาทีมงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มี
กระบวนการพัฒนาด้วยกัน 3 การฝึกอบรม (Training) การศึกษา (Education) และการพัฒนา
(Development) ซึ่งเป็นการพัฒนาที่เพิ่มพูนความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) ความสามารถ
(Capacities) ตลอดจนทัศนคติ (Attitude) ตามคุณลักษณะหลักของผู้บริหาร คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ เพื่อรองรับการเข้าสู่การบริหารหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างอัตลักษณ์ เพิ่มศักยภาพในการ
ทางานอย่างมืออาชีพ และการพัฒนาทักษะก้าวสู่สากล
2) สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาทีมงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัยประกอบด้วย จุดเด่นโดยภาพรวม ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความสามารถ มี
เครือข่ายเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ และ นานาชาติ มีการบริหารเชิงรุกที่จะพัฒนามหาวิทยาลัย ให้
เกิดความก้าวหน้า มหาวิทยาลัยมีทุนทางสังคมสูง ในการพัฒนาสถาบันให้เป็นศูนย์กลางของ การ
จัดการศึกษาทางพระพุทธศาสนา สาหรับจุดที่ควรพัฒนาในภาพรวม พัฒนาระบบสารสนเทศ/
ฐานข้อมูลด้านต่างๆ ให้ทันสมัยและเชื่อมโยงในหน่วยงานต่างๆ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อ
สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการและดาเนินการ จัดทาฐานข้อมูลบุคลากรที่
แสดงถึงความรู้ความชานาญ เผยแพร่ใน Website เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ศักยภาพเชิงวิชาการ
ของคณาจารย์ เพื่อนามาซึ่งชื่อเสียงในวงวิชาการและวิชาชีพ ส่งเสริมคณาจารย์ในการศึกษาต่อเพื่อ
ยกระดับความรู้โดยให้เข้าศึกษาจากสถาบัน ที่หลากหลายทุกภูมิภาคของโลกรวมทั้งรับคณาจารย์
ภายนอกเพื่อให้เกิดความหลากหลายทาง วิชาการ ช้อสังหาริมทรัพย์และทรัพยากรบุคคลเป็นปัจจัย
ในการสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย
3) รูปแบบในการพัฒนาทีมงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย โดยนาหลักภาวนา 4 มาใช้เป็นกรอบในการพัฒนา ประกอบด้วย 1) กายภาวนา พัฒนา
กาย 2) ศีลภาวนา พัฒนาศีล 3) จิตภาวนา พัฒนาจิตใจ และ 4) ปัญญาภาวนา พัฒนาปัญญา
บูรณาการเข้ากับการพัฒนาทีมงานของบุคลากรตาม กาหนดเป็นรูปแบบการพัฒนาทีมงานของ
บุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วย 3 รูปแบบ ดังนี้ ด้านการ
ฝึกอบรม เพื่อพัฒนาทีมของบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ โดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ส่งเสริมการ
ฝึกอบรมและจัดโครงการแลกเปลี่ยนความรู้ในการปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่นๆ 2) ส่งเสริม
โครงการฝึกอบรมข้าราชการที่ดี และเสริมสร้างทัศนคติที่จาเป็น 4) ส่งเสริมโครงการฝึกอบรมทักษะ
เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับหน้าที่ของบุคลากร ด้านการศึกษา เพื่อเพิ่มศักยภาพสู่ความการ
พัฒนาทีมงาน โดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ส่งเสริมการศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่ ได้แก่ การ
เสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับ วัฒนธรรม สังคม 2) ส่งเสริมการศึกษาด้านโครงการเสริมสร้างหลักพุทธ
ธรรม 3) เสริมสร้างความรู้ เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเสริมสร้างมาตรฐานเดียวกัน 4)
ส่งเสริมการศึกษาของบุคลากร และเสริมสร้างความชานาญในหน้าที่ของบุคลากร สาหรับด้านการ
พัฒนา เพื่อพัฒนาทักษะก้าวสู่สากลของบุคลากร โดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้ 1) ส่งเสริมการ
พัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 2) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการใช้
กฎหมายและภาวะผู้นาในทุกระดับ 3) ส่งเสริมโครงการปฏิบัติธรรม รักษาศีล เสริมสร้างทักษะทาง
จิตให้มีสมาธิในการปฏิบัติงาน 4) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะด้านภาษาและการใช้เทคโนโลยี
References
ชนก”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปาจรีย์ รุจิแสวง. (2555). “การเตรียมตัวด้านการศึกษาเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษา
นักศึกษาคณะเศรษฐศษสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. คณะ
เศรษฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2550). ธรรมนูญชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 80. กรุงเทพมหานคร:
บริษัทพิมพ์สวย จากัด.
พระมหาศุภกิจ สุภกิจโจ. (2557). “กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสานักงานส่งเสริม
การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กรุงเทพมหานคร”. ปริญญาพุทธ
ศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐพล เย็นใจมา. (2557). “รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยสงฆ์
ไทย”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สายรุ้ง บุบผาพันธ์. (2558). “การพัฒนาทุนมนุษ์ตามหลักพุทธธรรมขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
ภาคเหนือตอนล่าง เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎี
บัณฑิต. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
Nadler. (1990). Developing Human Resource. 3 rd ed, (Jossey Bass Publisher.
Parker, G.M. (1990). Team Players and Team Work ; The New Competitive Business
Strategy. San Francisco, (Calif: Jossey – Bass.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น