การประเมินผลนโยบายการบริหารท้องถิ่นของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี
คำสำคัญ:
การประเมินผล, นโยบายการบริหารท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่อง การประเมินผลนโยบายการบริหารท้องถิ่น
ของเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานีใน 6 ด้าน คือ ด้านการให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
ด้านการมีความถูกต้อง โปร่งใสและยุติธรรม ด้านการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ด้านการพัฒนา
ตามแนวพระราชดาริ ด้านการให้ประชาชนมีส่วนร่วม และด้านหลักความคุ้มค่า
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งในเทศบาลนครรังสิต จังหวัด
ปทุมธานี คือ ผู้มีอายุ 18-60 ปี จานวน 76,973 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ
แบบสอบถามแบบมาตราส่วน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการประเมินผลนโยบายการบริหารท้องถิ่นของเทศบาล
นครรังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยรวมอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ยู่ในระดับมาก 4 ด้าน เรียงลาดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหา
น้อย คือ ด้านการให้ประชาชนมีส่วนร่วม ด้านการพัฒนาตามแนวทางพระราชดาริ ด้านการเพิ่ม
รายได้ให้กับประชาชน ด้านหลักความคุ้มค่า ส่วนที่เหลือ 2 ด้าน คือ ด้านการมีความถูกต้องโปร่งใส
และยุติธรรม และด้านการให้บริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม อยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณา
โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง
References
(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
กรมส่งส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2542). ระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหาร
กิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น.
เกวลิน ปันยานะ.(2547). ความคิดเห็นของกลุ่มผู้นาชุมชนต่อการบริหารจัดการที่ดี : กรณีศึกษาองค์การ
บริหารส่วนตาบลป่าตาล อาเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์
มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : สานักพิมพ์วิญญูชน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาสน์.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2540). นโยบายสาธารณะ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). พฤติกร รมองค์การ. กรุงเทพมหานคร :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น