รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน

ผู้แต่ง

  • อภิสรา จ่ายเจริญ

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยว, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ภาคกลางตอนบน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน 2) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎี และหลัก
พุทธธรรมที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน
3) เพื่อนาเสนอรูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน
การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative research) ผู้วิจัยได้เก็บ
ข้อมูลภาคสนาม (field study) กลุ่มตัวอย่าง คือ วัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน
สานักงานการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว
เจ้าหน้าที่และลูกจ้างที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว จานวน 31 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้
ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก (In-depth interview) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส เจ้าหน้าที่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน สานักงานการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ประกอบธุรกิจด้านการท่องเที่ยว
นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ลูกจ้าง ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวที่
สาคัญนั้ น ๆ และแบบสนทนากลุ่มเฉพาะจานวน 8 รูป/คน ได้แก่ พระสงฆ์ เจ้าหน้าที่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน สานักงานการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้ประกอบธุรกิจด้านการ
ท่องเที่ยว นักวิชาการด้านการท่องเที่ยว ลูกจ้าง ผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับสถานที่
ท่องเที่ยวที่สาคัญ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน
ประการแรก คือปัญหาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวของทั้ง 4 จังหวัด ยังมีลักษณะของรูปแบบ
การส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่หลากหลาย และ ไม่มีประสิทธิภาพ ประการที่สอง ภาคประชาชนยังมี
ส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับต่า ดังนั้นจึงส่งผลกระทบต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน และทาให้การส่งเสริมการท่องเที่ยวไม่มี
ประสิทธิภาพ
2. แนวคิดทฤษฎีและหลักพุทธธรรมที่เหมาะสมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว ผู้วิจัยได้นา
หลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เพราะเห็นว่าการใช้หลักธรรมดังกล่าวสามารถที่จะ
ตอบสนองต่อการทางานด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นรวมถึงภาคประชาชนมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระ ก็จะทาให้การดาเนินงานด้านการส่งเสริม
การท่องเที่ยวสาเร็จได้ด้วยดี การยึดหลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้ในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน ทาให้เกิดบรรยากาศในการทางานร่วมกันไปในทางที่
ดีขึ้นและส่งผลดีต่อองค์กร และนาไปสู่การวางแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพเพราะ
หลักสังคหวัตถุ 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้าใจคนและประสานหมู่ชนไว้ให้มีความ
สามัคคีกัน ทาให้คนพิจารณาถึงเหตุผลที่ถูกตองที่เป็นประโยชน์เพื่อความเข้าใจที่ดีตอกันของทุกคน
ในสังคม ดังนั้นการนาหลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้ประกอบการส่งเสริมการท่องเที่ยวก็จะสามารถนาไปสู่
การวางแผนนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ดีและก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
ระบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ดี ทาให้เกิดผลดีต่อการบริหารงานด้านการส่งเสริมการ
ท่องเที่ยวในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งทาให้ระบบการบริหารจัดการส่งเสริมการท่องเที่ยว
ที่มีประสิทธิภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาท่องเที่ยวยังท้องถิ่นได้เป็นจานวนมาก และช่วย
ให้สามารถนารายได้มาพัฒนาการท่องเที่ยวประสบความสาเร็จได้อย่างยั่งยืน
3. รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน มี
5 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาค
กลางตอนบน ด้านการเร่งพัฒนา บูรณะ ฟื้นฟูมรดก และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรม รูปแบบที่ 2 แนว
ทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน ด้านการเพิ่มความ
หลากหลายของการท่องเที่ยวรูปแบบต่างๆ รูปแบบที่ 3 แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน ด้านการเพิ่มมาตรการอานวยความสะดวก สร้าง
ความปลอดภัย และปูองกันการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว รวมทั้งเร่งรัดการแก้ไขปัญหาความ
เดือดร้อนของนักท่องเที่ยวอย่างจริงจัง รูปแบบที่ 4 แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน ด้านการเร่งฟื้นฟูความร่วมมือกับท้องถิ่นอื่นๆ โดยรอบ ทั้ง
ทางด้านการตลาด การลงทุนและการขจัดอุปสรรคในการท่องเที่ยว รูปแบบที่ 5 แนวทางการ
ส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน ด้านการบริหารการ
ท่องเที่ยวโดยใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก โดยสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกับธุรกิจชุมชน ตลอดจนพัฒนาคุณภาพการบริการการท่องเที่ยว รวมทั้งการโฆษณาประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว
ของท้องถิ่นในรูปแบบที่หลากหลาย

References

ชยาภรณ์ ชื่นรุ่งโรจน์. (2537). “การพัฒนาการท่องเที่ยว”. จุลสารการท่องเที่ยว. ฉบับปีที่ 15 เล่ม
ที่ 4 กรุงเทพมหานคร.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์. วิกฤตการณ์ด้านการท่องเที่ยวไทย. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล :
http://www.thaigoodview.com/node/69016, [9 พ.ย. 56].
27 กันยายนวันท่องเที่ยวโลก. [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : http://campus.sanook.com/
u_life/knowledge_02231.php, [5 ธ.ค.56].
สานักงานบริหารยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1. ข้อมูลพื้นฐาน (โดยสรุป).
[ออนไลน์], แหล่งข้อมูล : http://www.osmcentral-n1.moi.go.th/group.html, [5
ธ.ค. 56].

เผยแพร่แล้ว

2020-04-02

How to Cite

จ่ายเจริญ อ. . (2020). รูปแบบการส่งเสริมการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคกลางตอนบน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 127–142. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241563