การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศาลจริยากร (สมบูรณ์ เลขธมฺโม)

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, การจัดการเรียนการสอน, พระสอนศีลธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของพระ
สอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาแนวคิดทางการจัดการและหลักพุทธ
ธรรมที่นามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอน ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา
จังหวัดชลบุรี 3) นาเสนอกระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักพุทธบูณาการของพระสอน
ศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี
ระเบียบวิธีวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร การ
สัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลสาคัญ ซึ่งเป็นพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
จานวน 25 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการจด
บันทึกและการบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนา
กลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศาสนา และการจัดการเรียนการสอน จานวน 11 รูปหรือคน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มเฉพาะและรูปแบบเบื้องต้นสาหรับใช้ในการยืนยันข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการจัดประชุมกลุ่มย่อย บันทึกเสียง และจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูล
โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัด
ชลบุรี พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางนั้น พระสอนศีลธรรมใน
โรงเรียนใช้วิธีการสอนที่เน้นให้นักเรียนมีอิสระทางความคิด การแก้ไขปัญหาด้วย การสรุปบทเรียน
และการคิดวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นใช้การวิจัยเป็นพื้นฐาน
นั้น พระสอนศีลธรรมส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ทางการวิจัย เนื่องจากส่วนใหญ่จบการศึกษาเพียง
นักธรรม จึงต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัยให้แก่พระสอนศีลธรรมให้มากขึ้น ด้านการ
จัดการเรียนที่เน้นการใช้โครงงานนั้น พระสอนศีลธรรมเปิดโอกาสให้นักเรียนได้จัดทาโครงงานด้าน
พระพุทธศาสนา มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนไปร่วมประกวดแข่งขันในเวทีต่างๆ และ
ได้รับรางวัลมากมาย ในส่วนด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น พระสอน
ศีลธรรมใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการจัดการเรียนการสอนด้านนี้ โดยเชิญปราชญ์ชาวบ้านมาช่วยสอน
2. แนวคิดทางการจัดการและหลักพุทธธรรมที่นามาบูรณาการในการจัดการเรียนการ
สอน ของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี พบว่า ได้มีการนาแนวคิดทางด้าน
การจัดการคือ หลักการบริหารวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ได้แก่ 1) ขั้นตอนการวางแผน 2) ขั้นตอนการ
นาแผนไปปฏิบัติ 3) ขั้นตอนการติดตามประเมินผล และ 4) ขั้นตอนปรับมาตรฐาน มาใช้ในการ
จัดการเรียนการสอนควบคู่กับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง การจัดการการ
เรียนการสอนที่เน้นกระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ การจัดการการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการทา
โครงงาน และ การจัดการการเรียนการสอนโดยเน้นภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
ส่วนหลักพุทธธรรมที่นามาบูรณาการในการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม ซึ่งจะช่วยให้
ครูจัดการสอนดีขึ้น และนักเรียนเรียนรู้ดีขึ้น คือ หลักไตรสิกขา ได้แก่ ศีล ฝึกรักษาศีล และการมีวินัย
สมาธิ ฝึกลมหายใจ จิตใจให้สงบนิ่ง ปัญญา การคิดพิจารณา แก้ปัญหา การประยุกต์ การปรับปรุง
และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้คุณลักษณะที่พึงประสงค์ คือ มีฉันทะ ความพึงพอใจในงานและ
การเรียน วิริยะ ความเพียรพยายามให้ประสบผลสาเร็จ จิตตะ ความเอาใจจดจ่อในงานและการเรียน
และวิมังสา คือ การหมั่นทบทวนความผิดพลาดและการแก้ไขปัญหา
3. กระบวนการจัดการเรียนการสอนตามหลักพุทธบูณาการของพระสอนศีลธรรมใน
โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน 3 วิธีการ คือ ขั้นตอนที่หนึ่ง การ
วางแผนการเรียนการสอน พระสอนศีลธรรมจะต้องกาหนดแผนการสอนขึ้นก่อนเป็นอันดับแรก โดย
การศึกษาข้อมูล วิธีการจัดการเรียนการสอน คุณลักษณะเบื้องต้นของผู้เรียน ความสนใจของผู้เรียน
และอุปกรณ์ที่ใช้ในการสอน ขั้นตอนที่สอง ลงมือปฏิบัติตามแผน ด้วยการกระตุ้นผู้เรียนนาเข้าสู่
บทเรียน และเปิดโอกาสให้นักเรียนคิด วิเคราะห์งาน ขั้นตอนที่สาม การตรวจสอบและประเมินผล
จากสังเกตพฤติกรรมของนักเรียน ความสนใจ การให้ความร่วมมือ ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ขณะทา
กิจกรรมร่วมกับเพื่อน มีทดสอบก่อนและหลังเรียน ขั้นตอนที่สี่ การปรับปรุงแก้ไข ต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปิดจุดอ่อนและเสริมจุดแข็ง กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน สร้างเสริมกาลังใจให้กับ
นักเรียน และมีการพัฒนาต่อเนื่อง วิธีการที่หนึ่ง สอนให้ครูและนักเรียนมีแรงบันดาลใจในการเป็น
คนดี ขยัน มีวินัยในตนเอง ประพฤติตนเป็นคนดี ด้วยการฝึกรักษาศีล ระเบียบ วินัย สม่าเสมอ
เคารพกฎของโรงเรียน ไม่ประพฤติผิดกฎของโรงเรียน ตั้งใจปฏิบัติ รักษาศีลเป็นประจา แบ่งปัน
ช่วยเหลือ ทบทวนหาสาเหตุของการประพฤติผิดศีลธรรมและหาทางแก้ไขให้ดีขึ้น วิธีการที่สอง สอน
ให้ครูและนักเรียนชอบความสงบ มุ่งมั่นตั้งใจเรียน เรียนอย่างมีความสุข ด้วยการฝึกลมหายใจ จิตให้
สงบนิ่ง สนุกสนานกับการเรียน นั่งสมาธิ สวดมนต์ ทบทวนบทเรียน และทบทวนพฤติกรรมมากขึ้น
วิธีการที่สาม สอนให้ครูและนักเรียนคิดสร้างสรรค์ มีจิตอาสา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น แก้ปัญหาด้วยการ
คิดพิจารณา พัฒนาประยุกต์ ปรับปรุง สร้างสรรค์ อ่านหนังสือเพิ่มขึ้น ตั้งใจเรียน ซักถามข้อสงสัย
ช่วยเหลือผู้อื่น ทบทวนวิธีการเรียน แก้ไขข้อบกพร่อง เสริมสร้างปัญญาตลอดเวลา

References

Phrapalad Pradisist Thitabho (Prakongsai). (2557). “The Development of
Administration Model of Buddhist Way School in Ayutthaya Province”,
Doctor of Philosophy Buddhist management. Graduate School:
Mahachulalongkornrajavidyalaya University,
Aeumaon Chonlaworn. (2556). “ A Study Of The Development Of Phra Pramote
P mo o n tru t ve Pattern ”. Doctor of Philosophy Buddhist
Studies. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-06

How to Cite

(สมบูรณ์ เลขธมฺโม) พ. . (2020). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อการจัดการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรม โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 95–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241376