การแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ : วิเคราะห์จากพุทธปรัชญา ทางสังคมและการเมือง

ผู้แต่ง

  • จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์

คำสำคัญ:

การแสวงหาความรู้,พุทธปรัชญาทางสังคมและการเมือง

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มุ่งนาเสนอแนวคิดบางประการในการวิเคราะห์ วิธีการแสวงหา ความรู้ทาง
สังคม ตามแนวพุทธปรัชญาทางสังคมและทางการเมือง วิธีการแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์
ได้รับอิทธิพลจากแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทฤษฎีปฏิฐานนิยม เป็น
รากฐานสาคัญแห่งระเบียบวิธีการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเน้นการสังเกต การพิสูจน์ทดลอง และ
การใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ทฤษฎีพื้นฐานการวิจัยทางสังคมศาสตร์ก็คือ แนวคิดและทฤษฎี
หลังยุคสมัยใหม่ และแนวคิดและทฤษฎีการตีความ ส่วนการแสวงหาความรู้ตามแนวพุทธปรัชญา
ทางสังคมและทางการเมือง เป็นระเบียบวิธีเชิงบูรณาการ ซึ่งไม่ได้สุดโต่งไปทางปริมาณนิยม หรือ
คุณภาพนิยม วิธีการศึกษาตามแนวอริยสัจ เป็นระเบียบวิธีวิจัยแม่บทในแง่พุทธปรัชญาแห่งความรู้
การคานึงถึงอิทธิพลสิ่งแวดล้อมและความต้องการของมนุษย์เป็นข้อเสนอแนะสาคัญในการศึกษา
พฤติกรรมมนุษย์ แม้จะมีการโต้แย้งอยู่เสมอถึงความน่าเชื่อแห่งวิธีการแสวงหาความรู้ตามแนวพุทธ
ปรัชญา แต่ก็ไม่มีข้อโต้แย้งใดๆ ที่จะมาหักล้างสัจธรรมว่า วิธีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และทาง
สังคมศาสตร์นั้น ตกอยู่ภายใต้กฎไตรลักษณ์คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ซึ่งเป็นหลักสัจธรรมที่
อธิบายปรากฏการณ์ทั้งหมดได้อย่างน่าเชื่อถือที่สุด

References

จานงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2548). การวิจัยในสภาวะปัจจุบัน , วารสารสังคมศาสตร์-
ม นุษ ย ศ า ส ต ร์ ฉบับเดือน มิถุนายน-ธันวาคม. คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จานงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2546). พุทธปรัชญาทางสังคมและทางการเมือง. ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จานงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง พุทธปรัชญาทางสังคมและทางการเมือง. ซึ่ง
ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2559.
เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ. (2548). คาอภิปรายเรื่องสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาชาติ การประชุมทางวิชาการ
ครั้ง ที่ 41. สาขาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2546.
พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์. (2546.) คาอภิปรายเรื่องการวิจัยในบริบทแห่งสังคมที่แปรเปลี่ยน. สานักงาน
คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 10 กุมภาพันธ์ 2546 โรงแรมพิมาน จ.นครสวรรค์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต). (2551). พุทธธรรม. พระนคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
Alan F, Chalmers . (1982). What is Science? An Assessment of he Status and
Nature of Science and Methods. ST.Lucia : University of Queensland
Press.
Mcclelland, David. (1961). The Achieving Society. Princeton, New Jeysey : Van No
strand.

เผยแพร่แล้ว

2020-04-06

How to Cite

อดิวัฒนสิทธิ์ จ. . (2020). การแสวงหาความรู้ทางสังคมศาสตร์ : วิเคราะห์จากพุทธปรัชญา ทางสังคมและการเมือง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-04), 15–36. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/241365