ต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกัน ปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7
คำสำคัญ:
ต้นแบบการบริหารจัดการ; ประสิทธิภาพการป้องกันปราบปรามยาเสพติด; ตารวจภูธร ภาค 7บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการในการ
ป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 (2) ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการ
ป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 และ (3) การพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการ
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7 เป็นการวิจัยเชิง
คุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล จานวน 42 คน โดยผู้ให้
ข้อมูลแบ่งเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย (1) ผู้ให้ข้อมูลระดับนโยบาย (2) ผู้ปฏิบัติ (3) ส่วนราชการอื่นๆ
(4) กลุ่มนักวิชาการ (5) กลุ่มภาคประชาชน และ (6) ผู้ที่เคยต้องโทษคดียาเสพติด ผลการศึกษาสรุป
ดังนี้
1. สถานการณ์ของปัญหายาเสพติดพบว่า การแพร่ระบาดของยาเสพติดได้มีมาอย่าง
ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการป้องกันปราบปรามยา
เสพติดของตารวจภูธรภาค 7 ในแต่ละด้านพบว่า (1) การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างประหยัด
และมีความคุ้มค่าในระดับสูงเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนาเข้ากับผลผลิตที่ได้ (2) ผู้บังคับบัญชา
จะสนับสนุนการทางาน และเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่ตารวจสามารถเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ เพื่อให้เกิดผลสาเร็จตามเป้าหมายที่กาหนด (3) เจ้าหน้าที่ตารวจมีความเข้าใจใน
ระเบียบ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามยาเสพติดเป็นอย่างดี (4) ตารวจภูธรภาค 7
มีการปรับปรุงระบบการแก้ไขปัญหายาเสพติดเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับนโยบายในทุกระดับ
และ (5) เจ้าหน้าที่ตารวจสามารถยึดทรัพย์สินจากผู้ผลิต ผู้ค้า ผู้สมคบ ผู้สนับสนุน และผู้ช่วยเหลือ
เกี่ยวกับยาเสพติดได้จานวนมาก และจับกุมผู้ต้องหาตามหมายค้างเก่าได้เกินเป้าหมายที่กาหนด
2. ปัจจัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของ
ตารวจภูธรภาค 7 ประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นา (2) เจ้าหน้าที่ตารวจ (3) งบประมาณ (4) เทคโนโลยี
และ (5) อานาจของเจ้าหน้าที่ตารวจ 3. การพัฒนาต้นแบบการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการป้องกัน
ปราบปรามยาเสพติดของตารวจภูธรภาค 7
3.1 ปัจจัยด้านภาวะผู้นา ประกอบด้วย 4 แนวทางคือ (1) การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
(2) ทักษะในการสอนงานแก่เจ้าหน้าที่ตารวจ (3) การสร้างวัฒนธรรมองค์การที่เข้มแข็ง และ (4)
ความสามารถในการประสานงานกับหน่วยงานภายนอก รวมถึงองค์กรระหว่างประเทศ
3.2 ปัจจัยด้านเจ้าหน้าที่ตารวจ ประกอบด้วย 5 แนวทางคือ (1) การพัฒนาเจ้าหน้าที่
ตารวจ (2) การถ่ายทอดความรู้ให้แก่สมาชิกในทีม (3) การสร้างและพัฒนา อส.ตร.
เพื่อช่วยสนับสนนุการทางานของเจ้าหน้าที่ตารวจ (4) การจัดประชุมระดับผู้บริหารของหน่วยงานที่
เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการภารกิจร่วมกัน และ (5) การพัฒนาองค์ความรู้ในการทางาน
3.3 ปัจจัยด้านงบประมาณ ประกอบด้วย 3 แนวทางคือ (1) การพัฒนาระบบการ
จัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่ (2) การพัฒนาเจ้าหน้าที่ตารวจให้มีศักยภาพในการเขียนโครงการ และ
(3) ปรับปรุงระเบียบการใช้เงินกองทุนสวัสดิการด้านยาเสพติด
3.4 ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ประกอบด้วย 4 แนวทางคือ (1) การพัฒนาเครื่องมือและ
โปรแกรมประยุกต์เฉพาะทาง (2) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลและข่าวสาร (3) การใช้ระบบตรวจสอบ
ป้ายทะเบียนรถยนต์ และ (4) การมีเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัยในการทางาน
3.5 ปัจจัยด้านกฎหมาย ประกอบด้วย 2 แนวทางคือ (1) การศึกษาถึงปัญหาและ
ข้อจากัดเพื่อปรับปรุงข้อกฎหมายในการทางาน และ (2) การสร้างทีมงานที่ปรึกษา
References
กองบัญชาการตารวจสอบสวนกลาง สานักงานตารวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญา
ดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ:
มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เฉลิมพรหม อิทธิยาภรณ์. (2558). ประสิทธิผลการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของกอง
บังคับการตารวจภูธรจังหวัดชลบุรี กองบัญชาการตารวจภูธรภาค 2 สานักงานตารวจ
แห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). วิทยาลัย
บัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ตารวจภูธรภาค 7. (2558). แผนปฏิบัติราชการตารวจภูธรภาค 7 ประจาปีงบประมาณ พ.ศ.2558.
นครปฐม : ตารวจภูธรภาค 7.
พีรพงศ์ ราพึงจิตต์. (2555). การพัฒนาองค์การภาครัฐแนวใหม่ของสานักงานคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐ
ประศาสนศาสตร์). วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกิจ. (2557). ภาวะผู้นาองค์กรและการจัดการที่มีประสิทธิภาพของ
โรงพยาบาลรัฐ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาขาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยสยาม. มานพ เนียรภาค. (2556). ประสิทธิภาพในการดาเนินการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่
ตารวจสถานีตารวจภูธรเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร
มหาบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
วิทยาลัย.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การวิเคราะห์เปรียบเทียบความหมายของการบริหารการจัดการ การ
บริหารการพัฒนาและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2531). ประสบการณ์ในการบริหารบุคลากร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สัญญา วงศ์สรรพ์. (2554). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอานาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
สานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2541). เอกสารชุดการส่งเสริมประสิทธิภาพและ
จริยธรรมในองค์กร. กรุงเทพฯ: สานักงาน ก.พ.
สานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2558). แผนปฏิบัติการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ : สานักงานคณะกรรมการป้องกันและ
ปราบปรามยาเสพติด.
สานักงานตารวจแห่งชาติ. (2558). แผนปฏิบัติราชการสานักงานตารวจแห่งชาติ ประจาปี
งบประมาณ พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : สานักงานตารวจแห่งชาติ.
สุพิศาล ภักดีนฤนาถ. (2556). Modern Policing : Community Policing in CSD. นนทบุรี:
กรีนแอปเปิ้ล กราฟฟิคปริ้นติ้ง.
สุภาณี อินทน์จันทน์. (2555). แนวทางการบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันปัญหายาเสพติดใน
เขตพื้นที่อาเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม. สานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สุรีย์ บุญญานุพงศ์ และวิลาวัณย์ หงษ์นคร. (2552). องค์ความรู้จากความสาเร็จในการป้องกันและ
แก้ไขปัญหายาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ :
สถาบันวิจัยสังคม.
Fayol, Henri. (1923). Industrial and General Administration . New Jersey : Clifton.
Gulick L. and Urwick,L. (1937). Paper On The Science of Administration. New York :
Institute of Public Administration.
Koontz, Harold D. (1923). Analysis of Managerial Functions. New York : McGraw -
Hill Book.
Xrainer, Stuart. (1998). Key management ideas: Thinkers that changed the management
world. FT: Pitman Publishing.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น