การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ประพัฒน์พงษ์ พรพิมล

คำสำคัญ:

ตัวชี้วัด ประเมินผล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง“การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงานบุคคลขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อระบุปัจจัยที่เอื้อต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) เพื่อเสนอตัวชี้วัดการประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น เป็นการศึกษาวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งกระบวนการ วิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยเชิงปริมาณเพื่อระบุ ตัวชี้วัดการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิผล โดยเริ่มการศึกษา
จากแหล่ง ข้อมูลทุติยภูมิ ผ่านทบทวนวรรณกรรมทั้งในด้านทฤษฎี พร้อมทาการสังเคราะห์ตัวแปรเพื่อนามากาหนดกรอบการวิจัย จากนั้นเริ่มศึกษาจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก
และกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการออกแบบและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการวิจัยเชิงสารวจด้วยการใช้แบบสอบถาม พร้อมทาการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสาเร็จรูป ทางสังคมศาสตร์ดังนั้น
เพื่อให้การวิจัยเป็นไปตามระเบียบ วิธีการผู้วิจัยจะนาเสนอวิธีการวิจัยตามลาดับ

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลวิเคราะห์ปัญหาการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขาดการประสานงานในส่วนงาน ขาดกิจกรรมการอบรมบุคลากรท้องถิ่นที่เหมาะสมกับ
บริบทของงานตามหน้าที่ บุคลากรยังขาดความเข้าใจในระบบ HR scorecard ความไม่ชัดเจนในการกาหนดนโยบาย
ตอนที่ 2 ปัจจัยที่เอื้อต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยระบบ HR scorecard
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตาบล ซึ่งวิเคราะห์ปัจจัยที่เอื้อต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้วยระบบ HR
scorecard ทั้งหมด 4 มิติ 17 ปัจจัย 94 ข้อ เพื่อเลือกข้อที่เหมาะสมและประเด็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ปฏิบัติจริง นาไปใช้ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตอนที่

3 ตัวชี้วัดการประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผลการประเมินตัวชี้วัดการประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของเทศบาลด้วย
ระบบ HR scorecard มีทั้งหมด 4 มิติ 17 ปัจจัย ดังต่อไปนี้บุคลากรกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 396 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าเฉลี่ย และส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวม ทั้ง 4 มิติ พบว่า มีความสอดคล้องควรนาไปปฏิบัติมากที่สุด และ
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีความสอดคล้องควรนาไปปฏิบัติมากที่สุด ทั้ง 4 มิติ โดยเมื่อเรียงจากมากไปหาน้อย คือ มิติที่ 2 ประสิทธิภาพของการบริหารทรัพยากรบุคคล รองลงมาคือ มิติที่ 3
ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล และข้อที่มีความสอดคล้องควรนาไปปฏิบัติน้อยที่สุดคือ มิติที่ 1 ความสอดคล้องและสนับสนุนยุทธศาสตร์ อปท.

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทาแผนพัฒนาท้องถิ่น แผนยุทศาสตร์ การ
พัฒนาแผนพัฒนาสามปีและและแผนดาเนินงาน, กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมการปกครอง
ท้องถิ่น,
ปรีชา วัชราภัย. (2550) .ทิศทางการบริหารราชการแผ่นดินและการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และ ธรรมาภิบาลภาครัฐ. วารสารดารงราชานุภาพ.
สานักงานคณะกรรมการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น สานักงานปลัดสานัก
นายกรัฐมนตรี (2557). การพัฒนาท้องถิ่น .กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองส่วน
ท้องถิ่น.

เผยแพร่แล้ว

2020-02-29

How to Cite

พรพิมล ป. . (2020). การพัฒนาตัวชี้วัดการประเมินผลระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-01), 371–382. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/240709