การจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีสถาบัน การเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • อภิชิต ดวงธิสาร

คำสำคัญ:

การจัดการ/ความเข้มแข็งของชนชน,ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง,สถาบันการเรียนรู้เพื่อ ปวงชนจังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ และของชุมชนบ้านนาเกาะ หมู่ 7 ตาบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ต่อการ
จัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาปัจจัยที่ทาให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ศึกษาแนวทาง
การจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ(Qulaitative Research) ผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key person) จานวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบ
เจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็น วิเคราะห์สังเคราะห์เอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) การสนทนากลุ่ม (focus group discussion)
และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (non-observation) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อมูลแบบอุปนัย (analytic induction)

ผลการวิจัยพบว่า
1) บริบทของชุมชนและการก่อกำเนิดชุมชนเข้มแข็งบ้านนาเกาะ เกิดจากการเข้ามาจัดการกระบวนการเรียนรู้ของสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกับชุมชน โดยมีผู้นำชุมชน
และสมาชิกของชุมชนเป็นผู้เรียนรู้ ส่งผลให้ชุมชนมีความตื่นตัวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเข้มแข็งของชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
2) ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรคต่อการจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือการขาดการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจชุมชน เศรษฐกิจวัฒนธรรม
การสร้างนวัตกรรมใหม่ การสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอกชุมชน การบูรณาการระหว่างกองทุน การสร้างจิตสานึกตระหนักรู้ จิตสาธารณะและจิตอาสา การสร้างงานสร้างรายได้ในชุมชน
การสร้างภาวะผู้นำ การบริหารงบประมาณแบบบูรณาการ การขาดผู้สืบทอดผู้ทาพิธีกรรมต่าง ๆการขาดจิตสำนึกในการดูแลรักษาและหวงแหน การใช้ทรัพยาการอย่างฟุ่มเฟือยไม่เป็นธรรมการละทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีดั้งเดิม การหลงลืมชุมชนชนบท การขาดแหล่งเรียนรู้ทางด้านภูมิปัญญา การขาดความตะหนักรู้อย่างแท้จริงต่อการเปลี่ยนแปลงตามแนวทางการพัฒนากระแสหลัก ขาดการปรับใช้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เหมาะสม
3) แนวทางการจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือปรับแนวคิดของภาครัฐจากผู้สั่งการเป็นผู้สนับสนุน และเสริมสร้างแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่
การสร้างเครือข่ายภาคีความร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งและมีความสุขอย่างยั่งยืน ให้ความรู้และปลูกจิตสานึกให้ชุมชนตะหนักรู้ให้เท่าทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงตามการพัฒนากระแสหลัก โดยเลือกรับในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างชาญฉลาด และปฏิเสธในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และปรับใช้แนวทางการพัฒนากระแสทางเลือกโดยนำ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบทของชุมชน

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2553). การจัดการตนเองของชุมชนและท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์.
ชุมสุข สุขหิ้น. (2553). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสุขในการทางานของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม.(การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นภาภรณ์ หะวานนท์ และคณะ. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน.กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย 6 สกว. 7.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2542). สู่ความเป็นไทยด้วยพลังของท้องถิ่นข้อเสนอกรอบแนวคิดเพื่อจัดแผนฯ 9. กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. และคนอื่น ๆ (2546). แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนา. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสรี พงศ์พิศ. (2552). วิถีสู่ชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์พลังปัญญา.สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ
Pieterse,Jan Nederveen. (1988) “My Paradigm or Yours? Alternative Development.
Post-Development, Reflexive Development.” Development and Change 29 343-373.

เผยแพร่แล้ว

2020-02-29

How to Cite

ดวงธิสาร อ. . (2020). การจัดการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีสถาบัน การเรียนรู้เพื่อปวงชน จังหวัดชัยภูมิ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-01), 347–358. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/240661