กลยุทธ์การพัฒนาช่องทางบริการ และส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการที่ ส่งผลต่อ การรับรู้คุณภาพและการตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • นางสาวรัตนาภรณ์ อุปนิสัยพล

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การพัฒนาช่องทางบริการ, ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการ, การรับรู้คุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ความ คิดเห็นต่อช่องทางบริการ ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการ การรับรู้คุณภาพบริการ และการ

ตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันมีการรับรู้คุณภาพของช่องทางบริการในจังหวัดปทุมธานีที่แตกต่างกัน (3)

วิเคราะห์อิทธิพลของส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพของช่องทาง บริการในจังหวัดปทุมธานี (4) วิเคราะห์อิทธิพลของส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการ การรับรู้

คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดปทุมธานี (5) วิเคราะห์อิทธิพลของกลยุทธ์การพัฒนาช่องทางบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของ

ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา จานวน 600 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และแบบเป็นระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย

ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติวิเคราะห์ t-test, F-test และสถิติวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคุณผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ

41-50ปี สถานภาพสมรส การศึกษาสูงสุดอยู่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อาชีพแม่ค้า/พ่อค้า มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญต่อกลยุทธ์การพัฒนาช่องทาง

บริการ ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการ และการรับรู้คุณภาพของช่องทางบริการในระดับมาก และการตัดสินใจใช้บริการด้านการแนะนาบอกต่อมากที่สุด รองลงมาคือการกลับมาใช้บริการ

ซ้ำ (2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีการรับรู้คุณภาพของช่องทางบริการในจังหวัดปทุมธานีแตกต่างกัน (3) ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการด้านการ

จัดสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อประชาสัมพันธ์ ด้านการออกแบบสื่อองค์กร ด้านการส่งเสริมการขาย ด้านการประชาสัมพันธ์ ส่งผลต่อการรับรู้คุณภาพของช่องทางบริการ (4) ส่วนประสมการสื่อสารการตลาด

บริการด้านการจัดสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อประชาสัมพันธ์ ด้านการออกแบบสื่อองค์กร ด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการประชาสัมพันธ์ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกันตนตามมาตรา

40 ในจังหวัดปทุมธานี (5) กลยุทธ์การพัฒนาช่องทางบริการ ด้านคุณลักษณะของช่องทางบริการด้านจำนวนสาขาของช่องทางบริการ และด้านทำเลที่ตั้งของช่องทางบริการมีอิทธิพลต่อการ

ตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดปทุมธานี

References

ชนัดดา พิมพ์พรม. (2558). การสื่อสารทางการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการครองใจผู้บริโภค
ของบริษัทไทยประกันชีวิตจากัด (มหาชน) ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. หลักสูตรบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
ธัญญลักษณ์ จันทร์จินดา. (2557).ส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการ ที่มีผลต่อการตัดสินใจ
เลือกฝากเงินกองทุนทวีสุข:กรณีศึกษา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขา
ห้วยสักจังหวัดเชียงราย. หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
สุจิตตรา ไนยจิตย์. (2555). ความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าต่อคุณภาพการให้บริการ
กรณีศึกษาธนาคารกรุงไทย จากัด (มหาชน) สาขามีนบุรี.หลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจ
มหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
Belch, George E. and Michael A.Belch. (2005). Advertising and promotion : An
integrated marketing communications perspective. (6thed.). Boston :
McGraw-Hill.
Lovelock, C. & Wright L. (2002). Principles of Service Marketing and Management.
(2nd ed.).Pearson Prentice Hall.
Lovelock C. & Wirtz J. (2011).Services marketing, people, technology, strategy.
(7thed.). Pearson International Edition.
Schultz, D.E., Tannenbaum, S., &Lauterborn, R.F. (1994).Integrated marketing
communications: Putting it together and making it work. Lincolnwood,
IL:NTC Business Books.
Yamane, Taro. 1967. Statistics, An Introductory Analysis(2nd ed.). New York: Harper
and Row.

เผยแพร่แล้ว

2020-02-29

How to Cite

อุปนิสัยพล น. (2020). กลยุทธ์การพัฒนาช่องทางบริการ และส่วนประสมการสื่อสารการตลาดบริการที่ ส่งผลต่อ การรับรู้คุณภาพและการตัดสินใจใช้บริการของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในจังหวัดปทุมธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-01), 211–226. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/240228