การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ
คำสำคัญ:
ระบบสารสนเทศ; การพัฒนาระบบสารสนเทศ; การประกันคุณภาพภายในระดับ หลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฎ เป็นการวิจัยและพัฒนา มี 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย กับ 1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เอกสาร ตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 63 เล่ม 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ตารางแบบบันทึกข้อมูล 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัย 4) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา, ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ 1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศและด้านงานการประกันคุณภาพภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ใช้วิธีการเลือกเจาะจง จำนวน 6 คน 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ผังต้นแบบโครงสร้างของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ , แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินงานบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศ, ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย, ด้านประสิทธิภาพและอรรถประโยชน์, ด้านการออกแบบ การใช้งานบนเว็บไซต์, ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน 3) การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม 4) สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้ระบบสารสนเทศ กับ 1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร/รองคณบดี/หัวหน้างาน/เจ้าหน้าที่การประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร และเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบภายในหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์ ด้วยการเลือกเจาะจง จำนวน 9 คน 2) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ และแบบประเมินประสิทธิภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินงานบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ด้านประสิทธิภาพและอรรถประโยชน์ ด้านการออกแบบ การใช้งานบนเว็บไซต์ ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งาน 3) การเก็บรวบรวมข้อมูล นำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ ไปใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 3 เดือน พร้อมให้ผู้ใช้ทำการตอบแบบประเมินผลการใช้ 4) สถิติที่ใช้ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
- โครงสร้างองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 6 องค์ประกอบ 14 ตัวบ่งชี้ และผลการพัฒนาโครงสร้างองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย ส่วนต้น เนื้อหาและส่วนท้าย ได้ใช้โปรแกรมผังต้นแบบโครงสร้างองค์ประกอบของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในระดับหลักสูตร บนเครือข่าย Web Google Site
- ประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ พบว่า รวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.44, S.D.=0.73) เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านการดำเนินงานบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศ ( = 4.60, S.D.=0.67) ด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งานที่สุด ( = 4.51, S.D.=0.74)อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพและอรรถประโยชน์ ( = 4.46, S.D.=0.75) ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย( = 4.35, S.D.=0.73) ด้านการออกแบบการใช้งานบนเว็บไซต์ ( = 4.27, S.D.=0.45)
- การประเมินประสิทธิภาพระบบสารสนเทศ รวมเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D.=0.57) เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพและอรรถประโยชน์ ( = 4.68, S.D.=0.60)ด้านการดำเนินงานบริหารจัดการการพัฒนาระบบสารสนเทศ ( = 4.67, S.D.=0.62) อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการออกแบบการใช้งานบนเว็บไซต์ ( = 4.48, S.D.=0.76) ด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัย ( = 4.48, S.D.=0.67) และด้านการสนับสนุนและการให้บริการการใช้งานที่สุด ( = 4.36, S.D.=0.20).
References
กนกวลี ไทยน้อย. (2544). กรณีศึกษาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารเทคโนโลยี) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กิตติ ภักดีวัฒนะกุล และพนิดา พานิชกุล. (2546: 4). คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
กิตติพงษ์ จั่นเพชร. (2554). การออกแบบระบบฐานข้อมูลในการลดจำนวนเศษการผลิตของบรรจุภัณฑ์ IC กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
เกรียงศักดิ์ พราวศรี และคณะ (2544). การจัดระบบสารสนเทศในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยส์.
ชุติมา พัวผดุงดิษฐ์. (2553).“ชนบทไทยกับเทคโนโลยีสารสนเทศ”. หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553, หน้า 25.
พนิดา พานิชกุล. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศ (INFORMATION TECHNOLOGY). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ไทยเจริญการพิมพ์.
ไพบูลย์ เกียรติโกมล และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น. 316 หน้า.
รุ่งชัย จันทสิงห์. (2541). สภาพความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการ ของสถาบันราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วท.ม., มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2558). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. ฉบับปีการศึกษา 2557.
สำนักงาน, เลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค.
อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2546). คุณภาพและการประกันคุณภาพอุดมศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม).กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น