การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, พุทธธรรม, ผู้บริหาร, องค์การบริหารส่วนตำบลบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหาร
ส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลก” มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรม
ที่สอดคล้องกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพิษณุโลก
2. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพิษณุโลก 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลก การวิจัยเป็นการวิจัยแบบประสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชากรที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ จำนวน 18 รูป/คน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้มีความรู้เกี่ยวกับองค์การ และผู้ทรงคุณวุฒิทางพระพุทธศาสนา และการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 345 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมจากผลการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า
- หลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า หลักธรรมที่มีผลการพัฒนาภาวะผู้นำ (1) ด้านการครองตน ได้แก่ หลักไตรสิกขา (2) การครองคน ได้แก่ หลักสังคหวัตถุ 4 (3) การครองงาน ได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 มีระดับการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพิษณุโลก ภาพรวม อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 (= 4.02, S.D. = 0.53)
- ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า คุณลักษณะภาวะผู้นำของผู้บริหารนั้น ควรเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ด้านการบริหาร ประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อใช้ในการบริหารงาน และหลักการโดยรวมของภาวะผู้นำ คือ การพัฒนาผู้บริหารให้สามารถควบคุมตัวเองได้ มีสติรู้ตัวเองตลอดเวลา มีสมาธิมุ่งมั่น เป็นคนดี มีจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ สามารถเป็นแบบอย่างได้
- การพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
ในจังหวัดพิษณุโลก พบว่า การพัฒนาภาวะผู้นำ ได้วิธีการ แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำตามหลักพุทธธรรมประกอบด้วย วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำ 8 วิธี ได้แก่ ฝึกอบรมและปฏิบัติ การศึกษาเรียนรู้ การเป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา มอบหมายงาน สถานการณ์จำลอง สร้างเครือข่าย การสอนงาน การยึดต้นแบบ
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2543). การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
ฌาน ตรรกวิจารณ์. (2550). “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ”, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี บัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ประคอง รัศมีแก้ว. (2551). “คุณลักษณะผู้นำของผู้บริหารในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ”. วิทยานิพนธ์ปรัชญา ดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ภาวะผู้นำ : ความสำคัญต่อการพัฒนาคน พัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธรรมดา.
พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัท ประชากรธุรกิจ จำกัด.
พระครูศรีรัตนธรรมวิเทศ (ปกานนท์ พิลาพันธุ์). (2556). “รูปแบบการบริหารจัดการสานักปฏิบัติ กัมมัฏฐานของผู้นำชาวพุทธในประเทศอังกฤษ”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,.
วรภาส ประสมสุข. (2549).“หลักการบริหารการศึกษาตามแนวพุทธธรรม”. การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุรพล สุยะพรหม. (2548). การเมืองกับการปกครองของไทย.กรุงเทพฯ : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ฉัตรระวี ปริสุทธิญาณ. (9 เมษายน 2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานท้องถิ่น : จากรัฐธรรมนูญ 50 สู่ร่างพระราชบัญญัติ.[ออนไลน์].แหล่งที่มา : www.kpi.Ac.th/52- 03#2006.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น