กระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมือง ตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง, ชาติชัย อุดมกิจมงคล, ละมัย ร่มเย็น ,ภักดี โพธิ์สิงห์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ทักษะความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย, นักศึกษามหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการพัฒนาความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย วิธีดำเนินการวิจัย ใช้การวิจัยและพัฒนา กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ 84 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครทั้ง 6 คณะมีความเป็นพลเมืองอยู่ในระดับมาก

2. กระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยที่เหมาะสมได้แก่ การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Leaning) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมการ (P) ขั้นการนำไปปฏิบัติ (A)  ขั้นการสะท้อนประสบการณ์ (R)  ขั้นการประเมินผล (E)  หรือเรียกว่า P.A.R.E. Process

3. ผลการนำกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติไปใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน 84 คน พบว่า คะแนนทักษะความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษาที่เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติมากกว่านักศึกษาที่ไม่ได้เข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ยังพบว่าองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยคือ ทักษะการคิด การเคารพกติกา การเคารพสิทธิผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสาธารณะ เคารพความแตกต่างและรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน 

ดังนั้นการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยควรใช้กระบวนการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ, การเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน, การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และใช้กลยุทธ์ "สอนน้อยลงแต่เรียนรู้มากขึ้น (teach less and learn more)

References

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. (2555). ความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สถาบัน พระปกเกล้า, เอกสารเพื่อเผยแพร่ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 13 ณ ศูนย์ประชุม สหประชาชาติ วันที่ 22 – 24 มีนาคม 2555.

วรากรณ์ สามโกเศศ. (2554). การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. มติชน ฉบับวันที่ 3 มี.ค. 2554(กรอบบ่าย) สืบค้นจาก http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?
NewsID=22721&key=news_research. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2558).
สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง และคณะ. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบรับใช้สังคมเพื่อพัฒนาทักษะ ความเป็นพลเมืองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. สนับสนุนทุนวิจัยโดย สำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและพัฒนาการวิจัยมหาวิทยาลัย แห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
อเนก เหล่าธรรมทัศน์. (2556). การเมืองของพลเมืองสู่สหัสวรรษใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ / มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาธิปไตยและการพัฒนา.
อานันท์ ปัญญารชุน. (2551). ปาฐกถาเรื่อง Sustainable Democracy. สืบค้นจาก http://www2.thaiembassy.be/th สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2557).
Abowitz & Harnish. (2006). Contemporary Discourses of Citizenship, in Review of Educational Research 2006. Felder R.M. and Brent, R. "Active Learning: An Introduction." สืบค้นจาก https://social.crru.ac.th/activeLearning. สืบค้นเมื่อ วันที่ 25 กันยายน 2558.
Kahne, Joseph and Westheimer. (2004) Joel, What Kind of citizen? The politics of educating for democracy, in American Educational Research Journal, volume 41 N. 2, Summer 2004.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: Heaper
International Edition.

เผยแพร่แล้ว

2017-05-16

How to Cite

,ภักดี โพธิ์สิงห์ ส. ส. ช. อ. . ล. ร. (2017). กระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมือง ตามระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 267–276. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239806