การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินพฤติกรรม การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษา

ผู้แต่ง

  • กษศรณ์ นุชประสพ, อังศินันท์ อินทรกำแหง, วิชุดา กิจธรธรรม หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ

คำสำคัญ:

ความรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัย พฤติกรรมการมีส่วนร่วม การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์ จำนวน 972 คน แบบประเมินพัฒนาจากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในของครอนบาคและความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity)

ผลการวิจัยพบว่า

1) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมี 4 องค์ประกอบ 19 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็นด้านการเรียนการสอนการวิจัยและบริการวิชาการ 6 ตัวบ่งชี้ ด้านการบริหารจัดการและการกำกับดูแล 3 ตัวบ่งชี้ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 6 ตัวบ่งชี้ และด้านคุณภาพชีวิตในมหาวิทยาลัย 4 ตัวบ่งชี้  2) แบบประเมินฉบับสมบูรณ์มีจำนวน 19 ข้อ ลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 6 ระดับ  3) ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในของครอนบาคทั้งฉบับเท่ากับ 0.966 และรายองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง 0.862 – 0.923  4) ความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองพบว่าโมเดลการวัดพฤติกรรมการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = 629.682, df = 148, p = 0.00, CFI = 0.954,  RMSEA = 0.058, SRMR = 0.033)

1581339368066.jpg

References

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญฎา ประดิษฐบาทุกา. (2556). ปัจจัยเชิงเหตุทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะและพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้แบบวิจัยเป็นฐานของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ASEAN University Network. (2011). AUN Annual Report 2010/2011. Retrieved September 26, 2015. from http://www.aunsec.org/Section8/8.2.2 AnnualReport/AUNannualreport 20102011.pdf
Bollen, K.A. & Long, J.S. [Eds.] (1993). Testing structural equation models. Newbury Park, CA: Sage.
Byrne, B. (2010). Structural equation modeling with Mplus: basic concepts, application, and programming. New York: Routledge, Taylor & Francis Group.
Hair, J., Black, W.C., Barbin, B.J., Anderson, R.E., & Tatham, R.L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Upper Sandle Rever, Prentice Hall.
World Business Council for Sustainable Development. (2002). The business case for sustainable development: Making a difference toward the Johannesburg summit 2002 and beyond. Switzerland: WBCSD.

เผยแพร่แล้ว

2017-05-16

How to Cite

วิชุดา กิจธรธรรม ก. น. อ. อ. (2017). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินพฤติกรรม การมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 101–114. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239790