รูปแบบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน ของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ผู้แต่ง

  • วันทนีย์ แสนภักดี บัณฑิต ผังนิรันดร์ ปรีชา พงษ์เพ็ง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

รูปแบบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาด, ความสำเร็จอย่างยั่งยืน, ร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของกลยุทธ์ทางการตลาด ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก แนวโน้มทางการตลาด นโยบายรัฐบาลและความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์ทางการตลาด ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก แนวโน้มทางการตลาด และนโยบายรัฐบาลที่มีผลต่อความสำเร็จของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3) เพื่อเสนอรูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เชิงปริมาณคือ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 13 จังหวัดจำนวน 560คน โดยการกำหนดตัวอย่างเป็น 20 เท่าของตัวแปรที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 13 จังหวัด จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกและยืนยันข้อมูลโดยใช้ทฤษฎี 3 เส้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา(Descriptive Statistic) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้เทคนิคการพัฒนาแบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Model, SEM)เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method)  โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์ (Interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 และนำเสนอรูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 3ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์ทางการตลาด ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก แนวโน้มทางการตลาด นโยบายรัฐบาลมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ที่ค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .69,  .33, .50,  .63  และ .76  ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญ

ทางสถิติที่ระดับ .05 ตัวแปรเชิงสาเหตุทั้งหมด สามารถอธิบายความแปรปรวน หรือทำนายได้ร้อยละ 85 นอกจากนี้ ในการวิจัยเชิงคุณภาพยังพบว่าการรักษามาตรฐานในการให้บริการลูกค้าและการรักษาพนักงานที่มีคุณภาพ สามารถสร้างความสำเร็จอย่างยั่งยืนในธุรกิจร้านอาหารได้อีกด้วย หลังจากได้ข้อค้นพบแล้ว ผู้วิจัยได้พัฒนา RSZModel ซึ่งเป็นรูปแบบกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จ  อย่างยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อพัฒนาธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยต่อไป

References

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2559). พ.ร.บ.พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2559 จาก http://www.ieat.go.th/news
กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์. (2558). รายงานประจำปี สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2559. จาก http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=2793
เขตเศรษฐกิจพิเศษไทย 5 จังหวัด 6 พื้นที่ เพื่อรองรับ AEC ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2559 จาก http://www.aseanthai.net
คู่มือการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีนาคม 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559 จาก http://www.boi.go.th/upload/content/BOI- book_2015-special_economic_zone_42195.pdf
โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development). 29 มิถุนายน 2559 โดย thaireformสืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2559 จาก
http://www.isranews.org/thaireform-other-news/item/48042-corridor_48042.html
ดวงพร ทรงวิศวะ.(2558). การจัดบริการอาหารในสถาบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2559 จาก http://humaneco.stou.ac.th
ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2559 จากhttp://www.sukhothai.go.th/mainredcross/7I.pdf
ทฤษฎีการค้าสืบค้นเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 จาก http://www.stou.ac.th/study/services/sec/60340(2)/Trade.html
Abernathy, J., Kubick, T., &Masli, A. (2013). The economic relevance of chief marketing officers in forms’ top management teams. Journal of Business & Economics Research (Online), 11(12), 555-568. Retrieved from http://journals.cluteonline.com/index.php/JBER/article/view/8263/8298
Abernathy, J., Kubick, T., &Masli, A. (2013).The economic relevance of chief marketing officers in forms’ top management teams. Journal of Business & Economics Research (Online), 11(12), 555-568. Retrieved from http://journals.cluteonline.com/index.php/JBER/article/view/8263/8298

เผยแพร่แล้ว

2017-05-16

How to Cite

ปรีชา พงษ์เพ็ง ว. . แ. บ. . ผ. (2017). รูปแบบการดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน ของธุรกิจร้านอาหารในเขตเศรษฐกิจพิเศษ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 67–82. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239781