ธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการให้และการรับบริการในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วรินท์ชญา ภูดิทพรสวัสดิ์ Faculty of Culture Mahasarakrm University.
  • มนตรี ศรีราชเลา Faculty of Culture Mahasarakrm University.

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และปัญหาของการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  3) เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการให้และการรับบริการ  การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้วิธีการวิจัยเชิง คุณภาพ ด้วยการใช้ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป รวม 60 คน ซึ่งได้คัดเลือกพื้นที่แบบเจาะจงใน  3 ชุมชน ของเทศบาลนครนครราชสีมา คือ ชุมชนการเคหะ ชุมชนพานิชเจริญ และชุมชนสืบศิริพัฒนา  นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ในพื้นที่วิจัยชุมชนเทศบาลนครนครราชสีมานั้นมีการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ  โดยเริ่มต้นมาจากการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยมือพร้อมกับมีการบริหารจัดการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ มีมานานประมาณ 25 ปีกว่ามาแล้ว หรือประมาณปี พ.ศ. 2535 โดยจุดเริ่มต้นแรกๆคือย่านชุมชนรอบโคราชอพาร์ตเม้นต์ และได้พัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญด้วยและการบริการการรับจ้างอบรีดเสื้อผ้า ด้วยเครื่องซักผ้าธรรมดาผาบนและฝาหน้า ขนาดเครื่องเดียวขนาด 3.5 กิโลกรัมขึ้นไป โดยในการรับซักอบรีดเสื้อผ้าเป็นส่วนใหญ่ ผู้มารับบริการซักนั้นมักจะเป็น นักเรียน นักศึกษารอบพื้นที่สถาบันการศึกษา

            จากการศึกษาการบริหารจัดการธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ เพื่อเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการให้และการรับบริการ ของเทศบาลนครนครราชสีมา  พบว่า ส่วนใหญ่ของคนลงทุนในบริการซักผ้าหยอดเหรียญที่เปิดเป็นร้านที่มีการบริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยร้านประกอบธุรกิจบริการซักผ้าหยอดเหรียญนี้จะไม่มีคนเฝ้า โดยร้านซักผ้าหยอดเหรียญจะกระจายตามบริเวณโดยรอบสถานศึกษา และย่านที่พักของนักศึกษาและคนมีงานทำ ปัญหาที่พบของธุรกิจซักผ้าหยอดเหรียญคือ ร้านบริการซักผ้าหยอดเหรียญไม่มีคนเฝ้า การซ่อมบำรุงเครื่องซักผ้าทิ้งช่วงนานเกินไปและปัญหาการงัดตู้หยอดเหรียญในร้านที่เจ้าของไม่ได้เฝ้าประจำ รวมทั้งการทุบทำลายเครื่องซักผ้าในเวลาวิกาลโดยไม่ทราบสาเหตุ พัฒนาการการปลูกฝังวัฒนธรรมการให้และรับบริการซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญพบว่า เจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่มีจิตสำนึกในการ เมื่อมีปัญหาจะต้องแก้ไขให้ลูกค้า เต็มใจให้บริการ พร้อมน้อมรับคำติชมของลูกค้า และรักกับงานที่ตนเองให้บริการ เวลาที่ลูกค้ามาใช้บริการเกิดปัญหาอะไรต้องรีบให้การแก้ไขแก่ลูกค้าทันที การทำธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า ส่วนใหญ่ที่ร้านจะมีป้ายคำแนะนำ เบอร์โทรศัพท์เผื่อลูกค้าเกิดปัญหา

เผยแพร่แล้ว

2020-02-10

How to Cite

ภูดิทพรสวัสดิ์ ว., & ศรีราชเลา ม. (2020). ธุรกิจซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญเพื่อปลูกฝังวัฒนธรรมการให้และการรับบริการในจังหวัดนครราชสีมา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 263–273. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/239723