การจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครสวรรค์
บทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อศึกษาระดับการจัดการสังคมและวัฒนธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ และ3.เพื่อนำเสนอแนวทาง การจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์
การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.967 ในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตัวเองกับกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร ข้าราชการ และพนักงานจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 355คน ซึ่งได้มาจากสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุ ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 รูป/คน โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- การจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า การจัดการสังคมโดยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับชุมชนและระดับครัวเรือน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน และการจัดการวัฒนธรรมโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธรรมชาติและสุขภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การพัฒนายกระดับแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติ การส่งเสริมกิจกรรมตามปฏิทินการท่องเที่ยวประจำปีและประเพณีสำคัญ การส่งเสริมการตลาด การประชาสัมพันธ์และการบริการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์พบว่า การจัดการองค์กร ทำนายการจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ได้ร้อยละ 62.90 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการองค์กร มีจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านภาคี/เครือข่าย ด้านการสื่อสาร/เทคโนโลยี ด้านนโยบาย ด้านบุคลากร และหลักอิทธิบาท 4 ทำนายการจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ ได้ร้อยละ 17.50 ปัจจัยที่ส่งผลต่อหลักอิทธิบาท 4 มีจำนวน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านฉันทะ ความพึงพอใจ และด้านวิมังสา การหมั่นตริตรองพิจารณา
3. แนวทางการจัดการสังคมและวัฒนธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่า 1) การจัดการสังคมโดยการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคประชาสังคมเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเสริมสร้างจุดแข็ง ปิดจุดอ่อน และพัฒนาสมาชิกในชุมชนให้เป็นคนเก่ง คนดี ในระดับชุมชน การสร้างคุณภาพชีวิตและการดำรงชีวิตอย่างมีเหตุมีผล ในระดับครัวเรือน 2) การจัดการวัฒนธรรมโดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ธรรมชาติและสุขภาพ คือ การพัฒนาและยกระดับแหล่งท่องเที่ยวให้อยู่ในมิติความเจริญงดงามและยั่งยืน การส่งเสริมกิจกรรมตามปฏิทินการท่องเที่ยวให้มีกิจกรรมการท่องเที่ยวทั้ง 12 เดือนหรืออย่างน้อยให้เป็นไปตามฤดูกาล การส่งเสริมการตลาดการประชาสัมพันธ์และการบริการ ให้เห็นความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวในนครสวรรค์ทั้งเชิงนิเวศน์ ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและเชิงเกษตรสร้างสรรค์ การพัฒนาส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโดยการนำสุขภาพดีคืนสู่ชีวิต
References
Silverman, D.Doing Qualitative Research: A Practical Handbook. London, Sange, 2000.
ชัชภูมิ สีชมพู.“รูปแบบการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักธรรมาภิบาล”.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต.การบริหารการศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยนเรศวร,2548.
ฌาน ตรรกวิจารณ์.“การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธ”. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2550.
พระสมุทรวชิรโสภณ (โสภณ ธมฺมโสภโณ).“การพัฒนาการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดสมุทรสงคราม”.วิทยนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต.สาขาการจัดการเชิงพุทธ, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2557.
พัทยา สายหู. กลไกของสังคม.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,พิมพ์ครั้งที่ 10, 2544.
ภาวินีย์ มีผดุง.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายขององค์การ: การสำรวจความคิดเห็นของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2554.
ระบบสารสนเทศท้องถิ่นและชุมชน.โครงการวัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://www.tlg.rmutt.ac.th/?p=855, [3พฤษภาคม2559].
สำนักงานพัฒนาระบบ รูปแบบและโครงสร้าง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, [ออนไลน์], แหล่งข้อมูล: http://www.dla.go.th/servlet/TemplateServlet, [4 พ.ค. 2559].
สิน พันธ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์,2554.
สุวรีย์ศิริโภคารภิรมย์. การวิจัยทางการศึกษา.ลพบุรี: ฝ่ายเอกสารการพิมพ์ สถาบันราชภัฎเทพสตรี,2546.
หนังสือพิมพ์แนวหน้า. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำแผนวัฒนธรรมท้องถิ่น.[ออนไลน์].แหล่งที่มา: http://www.naewna.com/local/162306, [3 พฤษภาคม2559].
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น