รูปแบบการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชน เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในอีสานใต้
คำสำคัญ:
พระพุทธศาสนา, การพัฒนา, ปฏิบัติธรรม, เยาวชนบทคัดย่อ
บทความเรื่อง รูปแบบการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในอีสานใต้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาประวัติ ความเป็นมาการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนในอีสานใต้ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนในอีสานใต้ และ 3) ศึกษารูปแบบการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชน เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในอีสานใต้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้รู้ 18 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 60 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 20 คน รวม 98 คน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ถึง เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559 ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด ดังนี้ วัดศิริบ้านไร่ วัดประมวลราษฏร์ จังหวัดนครราชสีมา วัดศิริพงษาวาส วัดบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ วัดป่าไพบูลย์ และวัดป่าสุขสมบูรณ์ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการวางแผน ขาดการวางแผนบุคลากรที่มาช่วยงานทั้งพระสงฆ์และฆราวาส ด้านการปฏิบัติ วิทยากรมีน้อยไม่เพียงพอต่อภาระงานที่มาก ด้านการประเมินผล ขาดการประเมินผลที่หลากหลาย ควรมีการประเมินผลวิทยากรทุกคนและผู้เข้าอบรมอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และควรมีการประเมินผลด้านเอกสารหลักสูตรการอบรม โดยสรุป รูปแบบการดำเนินโครงการปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชน เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนในอีสานใต้ เป็นการพัฒนาตามหลักการโครงการปฏิบัติธรรมทั้ง 3 ประการ คือ การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผล โดยแต่ละด้านต้องอาศัยปัจจัยในการจัดการ 4 ด้าน ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ
References
Chantachon, S. (2006). Cultural Qualitative Research. Mahasarakham: Research Institute of Northeastern Art and Culture.
Chantavanit, S. (2000). Qualitative Research Method. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Horayangura, N. (2007). “Interpreting ‘Right Livelihood’: Understanding and Practice in Contemporary Thailand”. In Proceedings of the Third International Conference on Gross National Happiness. Thimpu: The Centre for Bhutan Studies.
Kanenaen, A. (2012). Suitable Methods for Monks Disseminating Buddhism to Children and Youths in Bangkok (Ph.D. Thesis). Mahasarakham University, Mahasarakham.
Nakata, T. (2000). Thai Politics and Administration: Duty of the nation. Bangkok: Sahai Blocking and Printing.
Pidok, Phra T. (1995). Dharma practice the right way. Bangkok: Sahatamik.
Ruangkanchanasetr, S., Plitponkarnpim, A., Hetrakul, P., & Kongsakon, R. (2005). “Youth risk behavior survey: Bangkok, Thailand”. Journal of Adolescent Health, 36(3), 227-235.
Sonna, A. (2010). Method of Developing Morality and Ethics Using Buddhist Methods for Upper Secondary Students in Nakhon Ratchasima Province (PhD Thesis). Mahasarakham University, Mahasarakham.
Suwannasri, S. (2009). Creating Peace in Society: A Study of the Integration of the Procedures for Disseminating Buddhism and Christianity in Isan.(PhD Thesis). Mahasarakham University, Mahasarakham.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น