การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้ำเชิงกลยุทธ์กับการป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุทกภัย

ผู้แต่ง

  • พระวิเทศพรหมคุณ (พิชาภพ ปญฺญญาโณ)

คำสำคัญ:

การจัดการชุมชน, การจัดการชุมชนเชิงกลยุทธ์, การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้ำเชิงกลยุทธ์กับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย 2) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย
3) เพื่อสังเคราะห์แบบจำลองเชิงกลยุทธ์ในการจัดการชุมชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบประยุกต์ ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจกับการวิจัยเชิงคุณภาพที่เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะ เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนที่จะนำเสนองานวิจัยต่อสาธารณะ 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้ำในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย ในภาพรวมพบว่า มีการกำกับดูแลและการติดตามประเมินผลเป็นรูปธรรมที่สุด รองลงมาได้แก่การวางแผนหรือนโยบาย การแบ่งงานกันทำ การตัดสินใจและสั่งการ และการรวมตัวหรือการจัดโครงสร้างในชุมชน ตามลำดับ
  2. รูปแบบการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยก่อนเกิดเหตุนั้น
    1) ก่อนเกิดเหตุจะต้องมีการหล่อหลอมประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่นมีการสร้างเครือข่ายที่เชื่อมประสานบนพื้นฐานของการเสียสละ มีจิตอาสา จิตสาธารณะ และพร้อมที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส 2) ในขณะที่เกิดเหตุจะต้องถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในชุมชน มีการแบ่งงานกันทำ ร่วมแรงร่วมใจกัน ร่วมไม้ร่วมมือกัน ตอบแทนคุณซึ่งกันและกัน เปิดกว้างและเคารพในความหลากหลายทางความคิด 3) หลังเกิดเหตุจะต้องเร่งฟื้นฟูสภาพแวดล้อมชุมชนให้กลับมาดีดังเดิม โดยมีแผนงาน แผนปฏิบัติการ และเครือข่ายในระดับตำบลและอำเภอ 4) การป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยเพื่อความยั่งยืน จะต้องทำใจยอมรับและอยู่ร่วมกับปัญหาอุทกภัยอย่างปกติหรือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต มีการหล่อหลอมประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น เช่น การสร้างบ้านบนแพเพื่อพักอาศัยในขณะน้ำท่วม มีการเตรียมเครื่องมือจับปลาสร้างรายได้ มีการสร้างบ้านแบบไทยๆ ที่ยกพื้นสูง มีการปลูกต้นไม้และกอไผ่เพื่อเป็นกำแพงธรรมชาติ และมีการสร้างพื้นที่รองรับน้ำหรือแก้มลิง

3. แบบจำลองเชิงกลยุทธ์ในการจัดการชุมชนกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย 1) ก่อนเกิดอุทกภัยนั้นจะต้องมีการขับเคลื่อนนโยบายให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับวิถีแวดล้อมของชุมชน  ลดระเบียบและขั้นตอน สนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามวิถีทางธรรมชาติบนพื้นฐานมีส่วนร่วมร่วม มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ และทรัพยากรสนับสนุน 2) ในขณะประสบอุทกภัย นั้นจะต้องจัดตั้งศูนย์บัญชาการหรือศูนย์อำนวยการแก้ไขปัญหาฉุกเฉินชุมชน เร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนในพื้นที่ ช่วยเหลือกันในการจัดเตรียมความพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์ ประสานงานกับทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ขุดลอกลำคลองและเพิ่มช่องทางในการระบายนํ้า จัดสร้างศูนย์พักพิง อพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย จัดชุดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเข้าเยียวยา และจัดชุดรักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยหรือเกิดความเตรียด 3) หลังประสบอุทกภัยจะต้องจัดชุดปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมในชุมชน ขอรับการสนับสนุนจากทางภาครัฐในการฟื้นฟูหรือแก้ไขจุดเสี่ยง จุดอันตราย และทบทวนระเบียบ ข้อบังคับ หรือเงื่อนไขเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และเวลา และนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุน และ 4) การบูรณาการเพื่อความยั่งยืน จะต้องสร้างจิตสำนึกร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกัน เรียนรู้ปัญหา อยู่ร่วมกับปัญหา สร้างพลังในการขับเคลื่อน มุ่งเน้นเป้าหมายทางคุณค่าที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติและวิถีของชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น

References

Naphong Nopket. (2011). Develop Community Based Proactive Community Planning Process. (In The Case of The Master Plan of Tambon Prik Municipality), Sadao District, Songkhla Province ". (Research Report). Bangkok: The Public Policy Building Program (NESDB), Thai Health Promotion Foundation (NESDB).
National Disaster Preparedness Committee. (2011). Chapter on Water and Flood Management National Disaster Prevention and Mitigation Program, 2010 - 2014. Department of Disaster Prevention and Mitigation Ministry of Interior: National Committee for Prevention and Mitigation.
Royal Irrigation Department. (2011). Management of the Chao Phraya River Basin in 2011 and Guidelines for Flood Relief by Dredging the Chao Phraya River". (Research Report). Bangkok: Royal Irrigation Department, Ministry of Agriculture and Cooperatives.
Songtham Pinto and Chanaphon Seriworawitkun. (2012, March 2). Strategies for Thai Economic Development Under The Crisis of Natural Disasters and Environment. Sukhothai Thammathirat Journal of Economics: STJOE,6(2), 1-11.
United Nations and Economic Commission for Europe (UN/ECE), (2002, November, 21-22 Best Practices on Flood Prevention, Protection and Mitigation, Water Directors of the European Union (EU). in Denmark Copenhagen.

เผยแพร่แล้ว

2018-02-19

How to Cite

(พิชาภพ ปญฺญญาโณ) พ. (2018). การจัดการชุมชนพื้นที่กลางน้ำเชิงกลยุทธ์กับการป้องกันและแก้ไข ปัญหาอุทกภัย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 157–169. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/235348