การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • พระมหากวินท์ ยสินฺทวํโส

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อนำเสนอการเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเอกสาร ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำหรับงานวิจัยนี้ ได้แก่  1) แหล่งท่องเที่ยวประเภทวัด 3) แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และอนุสาวรีย์ 4) แหล่งท่องเที่ยวประเภทพระราชวัง
5)แหล่งท่องเที่ยวประเภทพิพิธภัณฑ์  และ 7) แหล่งท่องเที่ยวอื่น ๆ 2. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับบริบทของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา  ได้แก่ แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาและแนวทางพัฒนาตลาดน้ำหรือตลาดชุมชน  3. การเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประกอบด้วยการจัดการวัดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนาควรมีแนวทางการเพิ่มคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงพระพุทธศาสนา ได้แก่ 1) กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) ราคาสมเหตุสมผล 3) ความสะดวกสบายของสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก 4) การส่งเสริมการตลาด 5)  ฝึกอบรมบุคลากรทางการท่องเที่ยว 6) กระบวนการดำเนินงาน 7) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 8) การจัดชุดโปรแกรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 
9) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 

เผยแพร่แล้ว

2018-03-18

How to Cite

ยสินฺทวํโส พ. (2018). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 145–156. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/235346