บูรณาการพุทธธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
บทคัดย่อ
บทความเรื่องเรื่อง บูรณาการพุทธธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรม 3) เพื่อบูรณาการหลักพุทธธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 4) เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึก และเสวนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือการใช้ให้เป็นเครื่องมือเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้สร้างประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิต แต่การใช้ ICT ก็เกิดปัญหาทางอาชญากรรม การละเมิดลิขสิทธิ์และการใช้ไปในทางที่ผิด แม้จะแก้ปัญหาด้วยกฎหมาย จรรยาบรรณ และระบบความปลอดภัย แต่ก็ยังไม่อาจแก้ได้ อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้นจึงต้องนำหลักพุทธธรรม ได้แก่ หิริโอตตัปปะ เบญจศีลเบญจธรรม โยนิโสมนสิการและหลัก กาลามสูตรกังขานิยฐานมาปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาด้วย
ในการบูรณาการแก้ปัญหาอาชญากรรมด้วยหลักพุทธธรรมต้องปลูกฝังทัศนคติที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมตั้งแต่เด็ก ให้รู้จักใช้ ICT ไปในทางที่เป็นคุณประโยชน์ ไม่ละเมิดกฎเกณฑ์
กติกาของสังคม การแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้วยหลักพุทธธรรมต้องสร้างจิตสำนึกละอายการทำความชั่วกลัวความผิด เคารพในการคิดค้นของผู้อื่นและรู้จักรังสรรค์นวัตกรรมของตนเอง ส่วนการแก้ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไปในทางที่ผิดเริ่มจากการตรวจสอบข้อมูล มีสติและเมตตา ใช้อย่างถูกต้องเน้นคุณค่าและประโยชน์ ตามองค์ความรู้ใหม่เรียกว่า GRIS Model
References
His Holiness Nanasangvara, Supreme Patriarch (Charoen Suvaddhana Mahathera). (2006). Buddhist Principle. Bangkok: Mahamakut Buddhist University Press.
Kenneth C. Laudon and Jane P. Laudon. (2007). Management Information System (Managing The Digital Firm). Tenth Edition.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). The Tipitaka in Thai Version belonging to Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok: Mahachulalongkornraja-vidyalaya University.
Michael E. Whitman and Herbert J. Mattord. (2005) “Principles of Information Security”. Second Edition. Thomson Course Technology.
Panida Panichkul. (2013). Information Security and Management. Bangkok: KTP Com and Consult, Ltd. Press.
Phra Bhramagunabhorn (P.A.Payutto). (2013). Thinking Method in Buddhadhamma. Reprinted No.24 by Chapter Division. Bangkok: Plidhamma in Petandhome Co.Ltd.
Phra Mahabodhivongsacarya (Thongdi). (2015). 5 Precepts Protect the World. Bangkok: Banluedhamma Institute.
Phrasuthirattanabundit (Suthita Aphakaro) Dr. (2016). List Model for Research and Social Development. Advance Research Methodology in Social Sciences Development. Social Development Department. Social Sciences. Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (Photocopy)
Robert N. Barger. (2008). “Computer Ethics a Case-Based Approach”. Cambridge University Press. United Kingdom.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น