การมีส่วนร่วมด้านนโยบายภาครัฐสำหรับการดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดพิจิตร
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม,นโยบายภาครัฐ, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ 2) เพื่อศึกษานโยบายการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร 3) เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบของนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร
ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยบริเวณพื้นที่ จังหวัด พิจิตร จำนวน 398 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.960 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์พหูคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน เลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว และเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในการสนทนากลุ่มเฉพาะ 10 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลจากทั้งสองขั้นตอนโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า
- แนวคิด ทฤษฎี และหลักพุทธธรรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ ในจังหวัดพิจิตร กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นไปตามตัวแบบชนชั้นนำและตัวแบบด้านการจัดการ ดำเนินการตามนโยบายภาครัฐ พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัดพิจิตร เน้นทฤษฎีกิจกรรม (Activity Theory) ทฤษฎีทฤษฎีภูมิคุ้มกัน (Immunological Theory) และใช้หลักพุทธธรรมแห่งการสงเคราะห์ในการดูแลผู้สูงอายุ
- นโยบายการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร ส่งเสริมให้จังหวัดพิจิตร เป็น จังหวัดที่เข้มแข็งด้วยนโยบายสุขภาพ เน้นการจัดตั้งศูนย์เวชศาสตร์ดูแลผู้สูงอายุ และจัดตั้งกองทุนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบขั้นบันได สำนักพัฒนาสังคม เน้นจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ สำนักอนามัยและสำนักการแพทย์ เน้นการดูแลด้านสุขภาพด้วยการส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ
- รูปแบบของนโยบายการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร
3.1 การกำหนดนโยบาย ระบุปัญหา วิเคราะห์ปัญหา จัดลำดับความสำคัญปัญหา การเตรียมเสนอร่างนโยบาย การอนุมัติและประกาศเป็นนโยบาย ประชุมเพื่อกำหนดโครงการ มอบหมายนโยบายสู่การปฏิบัติกับหน่วยงาน และติดตามประเมินผล กำหนดนโยบายอย่างเท่าเทียม ดูแลแบบองค์รวม เน้นด้านการแพทย์สาธารณสุข แต่นโยบายที่กำหนดมามีน้อย ทำให้เกิดความล่าช้า ไม่ทั่วถึง ไม่เสมอภาค และงบประมาณยังน้อยกับสถานการณ์ปัจจุบัน ขาดข้อมูลที่แท้จริงจากคนในชุมชน ขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดฐานข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ(สำมะโนครัวประชากร) ไม่ได้กำหนดนโยบายตามปฏิญญาผู้สูงอายุของจังหวัดพิจิตร และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ
3.2 การนำนโยบายไปปฏิบัติ นำนโยบายและแผนมาแปลง วิเคราะห์สถานการณ์ จุดอ่อน จุดแข็ง สภาพปัญหา และผลการประเมิน เพื่อกำหนดเป็นโครงการ ส่งผู้บริหารรับทราบ นำไปปฏิบัติ เน้นทีมสหวิชาชีพร่วมปฏิบัติงาน สำนักพัฒนาสังคมร่วมกับสำนักงานเขต สำนักอนามัยร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักการแพทย์ร่วมกับโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในจังหวัดพิจิตร การดูแลระยะยาว เน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเข้ามาดูแล การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะ ยากลำบาก สงเคราะห์ช่วยเหลือตามระเบียบของการจัดการสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดพิจิตร ยึดหลักสังคหวัตถุ ๔ พรหมวิหาร ๔ สัปปุริสธรรม ๗ และอิทธิบาท ๔ แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติไม่ให้ความสุขกับผู้สูงอายุอย่างแท้จริง หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง มองงานด้านผู้สูงอายุเป็นการจัดเป็นกระบวนการ บางครั้งเจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงาน ละเลยการปฏิบัติหน้าที่ ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดจิตวิญญาณด้านจิตอาสา และไม่นำนโยบายหลักไปทำเป็นโครงการออกมาให้ชัดเจน
3.3 การประเมินผลนโยบาย กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยวัดที่ผลผลิต (output) คือ ร้อยละความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่ได้รับบริการ รูปแบบการประเมินผล “IPO model” ประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ อาศัยวงจรเดมมิ่ง วางแผน(P) ปฏิบัติ(D) ตรวจสอบ(C) และปรับปรุงดำเนินการ(A) และประเมินผลเมื่อสิ้นสุดดำเนินโครงการ สำนักพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพิจิตร เป็นหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ประเมินผลโครงการสามารถทำได้สำเร็จตามเป้าหมาย แต่ยังไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร เพราะการประเมินผลยังไม่เชื่อมโยงถึงข้อมูลมิติงานด้านผู้สูงอายุ และเป้าประสงค์ที่แท้จริง ไม่ได้ประเมินผลไปถึงผลลัพธ์ (outcome) รวมถึงขาดการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ต้องปฎิบัติตามนโยบายที่รัฐกำหนด
References
Chanchai Chairukrank. (2559). The Punlic Participation in Building Strong Commnunity of Prak Kret Town Municipality, Nonthaburi Province. Journal of MCU Social Science Review, 5(2), 115 -126.
Kanyarat Rinsri. (2556). Buddhish Integrated Water Resources Management : A Case Study of Ping River Conservation Organizaion, Chiang Mai Province (Doctoral Dissertation). Bangkok: Mahachulalongkorn- rajavathayalaya University.
Pamot Maikut. (2540). Sustainable integrated resource management. Bangkok: Kasetsart University.
Pichet Detpei. (2546). Dam and water management in Thailand. Bangkok: Mac Publishing Ltd.
Suwat Intraprapai. (2557). People’s Participation in Water Resource Management of Pasak River Basin (Doctoral Dissertation). Bangkok: Mahachulalongkorn- rajavathayalaya University.
Veerachai Jitbuntao. (2552). Farmers’s Participation in Management of irrigation, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Journul of Phthumthani University Academic, 1(1), 29-30.
Wanmaka Kasondungmai. (2558). Management, Community Involvement and Sustainable Development of Historic Sites History Measuer was Inconspicuous Tumbon Ya Num Oi’s Nakhon Sawan district Journal of MCU Social Science Review, 4(2), 170.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น