การบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, ศาสนสมบัติของวัดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาการบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารการจัด
การศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก และศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research)ซึ่งเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.945 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 รูป วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เป็นพระสังฆาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิทั่วไป จำนวน 20 รูป/คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ กับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณาความ
ผลการวิจัย พบว่า
- สภาพทั่วไปและปัญหาการบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ การวางแผนการจัดศาสนสมบัติของวัดพระสังฆาธิการบางรูปยังไม่เข้าใจในด้านกฏหมายเกี่ยวกับเรื่องการดูแลศาสนสมบัติของวัด ตลอดถึงกฏหมายเกี่ยวกับที่ดินมากเท่าที่ควร การจัดองค์กร องค์กรจะต้องรวบรวมข้อมูลของปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสมกับโครงสร้างการบูรณาการระหว่างแนวคิดทฤษฎีและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องการบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดการบังคับบัญชาและสั่งการ พบว่า การเสาะแสวงหาเพื่อเลือกสรรให้ ได้เจ้าหน้าที่และบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถเหมาะสมกับงานในการอนุรักษ์หรือเป็นผู้ที่มีความรักและความสนใจต่อศาสนสถานเป็นอย่างการประสานงาน พบว่า พระสังฆาธิการจะต้องมีความรู้และข้อมูลมากในด้านการสื่อสารต้องมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งานในด้านการประสานด้วย การควบคุม พบว่า พระสังฆาธิการจะต้องมีการควบคุมที่เป็นกลัยาณมิตรที่ดีต่อเจ้าหน้าที่และบุคลากร
- การบริหารการจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการเป็นการบูรณาการหลักพุทธธรรมสำหรับการบริหารจัดการศาสนสมบัติของวัด ตามหลักการจัดการประกอบด้วย การวางแผนมีความพอใจในการวางแผนในการดูแลศาสนสถานเป็นอย่าวดี การจัดองค์กรมีความเพียรในหาบุคลากรที่มีความรักและมีความเข้าใจในการดูแลและรักษาศาสนสถาน การบังคับบัญชาสั่งการมีจิตตั้งมั่นในการสั่งงานแผนที่ได้จัดเอาไว้ให้เป็นไปตามแบบ การประสานงานมีการตรวจสอบการทำงานอยู่เสมอด้วยการใช้การเป็นกัลยณมิตรที่ดีและการควบคุมใช้ปัญญาในการควบคุมงานโดยใช้หลักและเกตุผลในการตัดสินใจเเป็นต้น ตามหลักอิทธิบาท 4 ประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา
- รูปแบบการบริหาจัดการศาสนสมบัติของวัดในจังหวัดสมุทรปราการ การจัดการวางแผนอนุรักษ์ศาสนถาน ให้มีความมั่นคง แข็งแรง และคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ความเป็นไทยอย่างแท้จริงจัดองค์กรเพื่อให้เกิดความคล่องตัวสร้างความศรัทธาให้ชุมชนมีการรู้จักรักและเอาใจใส่ดูแลสั่งการให้มีการอนุรักศาสนถานที่สำคัญภายในวัดการประสานงานคอยดูแลกิจกรรมเชิงปฏิบัติธรรม บูรณาการกับการรักษาศาสนสถาน และศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมา การควบคุมคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวการดูแลรักษาศาสถานเมื่อเกิดปัญหาสามารถแก้ไขได้ทันที
References
Phrakhru Wimon Suwanakon (Somphong Chanthawaro). (2016). The Desirable Model of Sangha Administration of Administrative Monks at The Sangha Administration Region 1. Doctor of Philosophy (Buddhist Management). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Phrakhrusrisidthikarn (Somjai Dhammavetdhi). (2016). The Model of Buddhism Dissemination Management in the Globalization Age of the Sangha Order in Nonthaburi Province. Doctor of Philosophy (Buddhist Management). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publication.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น