การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วิมลพร สุวรรณแสนทวี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด
  • พระครูสโมธานเขตคณารักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • พระมหาธานินทร์ กลิ่นหอม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการบริหารจัดการ, หลักธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

บทความนี้วัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนารูปแบบในการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม การดำเนินการวิจัยมี 5  ขั้นตอน ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การกำหนดปัญหาการวิจัย การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย  ระยะที่  2 การศึกษาสภาพปัจจุบันด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ  ระยะที่ 3 การกำหนดรูปแบบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ  ระยะที่ 4 ตรวจสอบรูปแบบด้วยการจัดสนทนากลุ่ม ระยะที่ 5 ปรับปรุงรูปแบบและนำเสนอรายงานการวิจัย  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบบันทึกการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)  แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage)  ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) 

ผลการวิจัย พบว่า

1.สภาพปัจจุบัน  รูปแบบในการบริหารจัดการด้วยหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม โดยรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความคิดเห็นสูงสุดได้แก่  ด้านการบริหารงานทั่วไป รองลงมา ได้แก่  ด้านการบริหารงานวิชาการ  ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารงานงบประมาณ      

2.รูปแบบที่พึงประสงค์ในการบริหารจัดการในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคามโดยใช้หลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย 4 ด้าน คือ  1) ด้านวิชาการ  2) ด้านงบประมาณ  3) ด้านการบริหารงานบุคคล  4)  ด้านการบริหารทั่วไป  การดำเนินงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล 6 หลัก คือ 1) หลักนิติธรรม  2) หลักคุณธรรม  3) หลักความโปร่งใส 4)หลักการมีส่วนร่วม 5) หลักความรับผิดชอบ  6)หลักความคุ้มค่า

ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

      จากผลการวิจัยพบว่า การบริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคามนั้น ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานมากที่สุด คือหลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใสและหลักความสมควรต้องนำหลักเหล่านี้มาใช้เป็นเครื่องมือเสริมสร้างประสิทธิผลโดยการให้รางวัล หรือการลงโทษ ตามกฎระเบียบของทางราชการและควรดำเนินการให้ทันต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาที่มีประสิทธิผล

Author Biography

วิมลพร สุวรรณแสนทวี, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด

Education Management

References

Aphinya Kaeochuen. (1985). A Comparative Study of Creative Thinking Development of Prathom Suksa 4 Students Using The Conceptual Sketches of Real Cartoons And Skeletons. Bangkok: Srinakharinwirot University.
Department Of Home Affairs, Ministry Of Interior. (2000). The Operational Manual for Sub District Administrative Organization Development Plan. Bangkok: Volunteer Guard
Kovit Pongngam. (2001). Thailand Principles And New Dimensions In The Futur., Bangkok: Vinythai Public Co., Ltd.
Suwan Thongkham. (2007). The Management Of Good Governance In Schools Under The Office of Singburi Provincial Primary Education. Lopburi: Graduate School The Rajabhat Institute.

เผยแพร่แล้ว

2019-03-23

How to Cite

สุวรรณแสนทวี ว., พระครูสโมธานเขตคณารักษ์, & กลิ่นหอม พ. . . (2019). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 152–164. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/170980