ภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, การปกครอง, พระสังฆาธิการบทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำ
ในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โดยจําแนกตามสถานภาพสวนบุคคล 3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และขอเสนอแนะต่อภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการ อําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.956 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่พระสงฆ์ในอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 155 รูป วิเคราะห์ผลการวิจัยโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าเอฟ (F-test) ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) ในกรณีตัวแปรต้นตั้งแต่ 3 กลุ่มขึ้นไป
เมื่อพบว่ามีความแตกต่างจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน
8 ท่าน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือและวิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. พระสงฆ์มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของพระสงฆ์ต่อภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลโดยภาพรวม พบว่าพระสงฆ์ที่มีอายุพรรษาตำแหน่งทางคณะสงฆ์ วุฒิการศึกษาสามัญ วุฒิการศึกษานักธรรมและวุฒิทางการศึกษาบาลีแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้
3.ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อภาวะผู้นำในการปกครองคณะสงฆ์ของ
พระสังฆาธิการอําเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้แก่ ปัญหาและอุปสรรค คือ
พระสังฆาธิการขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ไม่เข้าใจหลักการปกครองคณะสงฆ์ดีพอ ขาดการวางเป้าหมายในการปกครองคณะสงฆ์ขาดการแบ่งงานในหน้าที่การปกครองอย่างเป็นระบบ ขาดการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ ขาดการตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องขาดการสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงาน ขาดการประสานงานที่ดี และขาดการมีส่วนร่วมจากฝ่ายต่างๆข้อเสนอแนะ คือพระสังฆาธิการควรศึกษาการบริกิจการคณะสงฆ์ให้ดี ศึกษาการปกครองคณะสงฆ์จากตำราและพระมหาเถระผู้มีความรู้ ทำงานโดยคำนึงถึงแผนที่วางไว้ และหมั่นประชุมเพื่อปรึกษาหารือเพื่อที่จะนำแผนงานไปสู่การปฏิบัติจริงควรแบ่งงานกันทำอย่างเป็นระบบ ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง หมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะได้วางแผนงานให้ดียิ่งขึ้นผูกใจผู้ร่วมงานให้มีความรักในองค์กร มีการประชุมและประสานงานกับหน่วยต่างๆ และควรหาผู้ร่วมงานเพื่องานส่วนรวม
References
Department of Religious Affairs. (1997). The Handbook of The Sangha and The Religion. Sahaikham Co., Ltd.
Phra Phrom Kunaporn (Prayut Payutto). (1998). Buddhist Laws. Bangkok: Buddhadham Foundation.
Phra Thep Rattana Suthi (Somsak Chotinunthorn). (2015). The Strategy of Buddhist Monkhood 1. Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Prasert Thilao. (2018) The Strategy of Buddhist Human Resource Development Towards The High Competency Organization of Buddhist Universities of Thai. Journal of MCU Social Science Review,7 (2),271.37-50.
Prince Narai Sittimethee (Thong Yoo) (2014). Leadership in The Administration of The Sangha of the Brahma Jariya Charan (Saeng Panyawuth Sangha). (Doctor of Thesis). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น