บทบาทและการสื่อสารในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2554-2556
คำสำคัญ:
การสื่อสารทางการเมือง, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง, สภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
บทความ เรื่อง “บทบาทและการสื่อสารในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ.2554-2556” ศึกษาใน 2 ประเด็นคือ 1) บริบททางการเมืองที่ส่งผลต่อบทบาทและการสื่อสารในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง ในห้วงเวลาปี พ.ศ.2554-2556 และ
2) บทบาทและการสื่อสารในสภาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง ในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2554-2556 การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้กรอบทฤษฎีแบบจำลองการสื่อสารทางการเมืองตามแนวคิดของ Brian McNair ประกอบกับแนวคิดเรื่องบทบาทหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติตามแนวคิดของ James N. Danziger โดยเก็บข้อมูลเอกสารจากรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎรไทย
ชุดที่ 24 ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก
ข้อค้นพบตอบคำถามวิจัยมีดังนี้
1. พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ที่เสนอโดยรัฐบาลนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ถือเป็นบริบททางการเมืองที่ส่งผลต่อบทบาทและการสื่อสารของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง ภายในสภาเกิดเหตุการณ์วุ่นวาย มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงลากเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎรลงจากบัลลังก์ ทำให้เกิดภาพลักษณ์ด้านลบของสภาผู้แทนราษฎรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ของสภาผู้แทนราษฎรไทย ส่วนภายนอกสภามีการจัดเวทีปราศรัย ประท้วง เดินขบวนปิดสถานที่ราชการ ก่อให้เกิดความวุ่นวายเสียหายจนนายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎร แต่สถานการณ์ทางการเมืองยังคงร้อนแรง จนในที่สุดเกิดการรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
2.การแสดงบทบาทและการสื่อสารเป็นไปตามทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองของ Brian McNair สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงแสดงบทบาทและการสื่อสารผ่านการอภิปรายในประเด็นต่างๆ ตามบทบาทหน้าที่นั้น สื่อมวลชนให้ความสำคัญนำเสนอไปยังประชาชนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การนำเสนอเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ บทความในหนังสือพิมพ์ สื่อใหม่ ส่วนบทบาทของฝ่ายนิติบัญญัติตามแนวความคิดของ James N. Danziger ถึงแม้ว่าจะไม่โดดเด่นเท่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรชายด้วยเหตุจำนวนที่แตกต่างกันมาก แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงก็สามารถแสดงบทบาทได้ครบถ้วนตามองค์ประกอบหลักของฝ่ายนิติบัญญัติ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงเสนอร่างพระราชบัญญัติ 12 ฉบับจากจำนวนทั้งสิ้น 48 ฉบับ
การตั้งกระทู้ถามทั่วไปและกระทู้ถามสด 83 กระทู้จากจำนวน 352 กระทู้เพื่อติดตามการทำงานของรัฐบาล การตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลโดยการเสนอญัตติทั่วไปและญัตติทั่วไปเพื่อขออภิปรายไม่ไว้วางใจ รวม 9 ญัตติ
ข้อสังเคราะห์จากการวิจัย 3 ประการ
1.การแสดงบทบาทและการสื่อสารทางการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิง ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมทั้งด้านบวกและด้านลบ ซึ่งควรระมัดระวังมิให้เกิดภาพลักษณ์ในด้านลบเกิดขึ้น
2.สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหญิงยังขาดบทบาทในฐานะผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่ตนเองนำเสนอต่อสาธารณะ
3.เพศหญิงไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานในบทบาทสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งบางสถานการณ์กลับเป็นข้อได้เปรียบ
References
University.
Office of The Election Commisson of Thailand. (2012) A general election for
the 24th House of Representatives, Bangkok: Rungsilp Printing.
The Secretariat of The House of Representatives, (2012) Authorities and
Duties of The National Assembly, Bangkok: Bureau of Printing
Services, The The Secretariat of The House of Representatives.
The Secretariat of The House of Representatives, (2014) The Conclusion of
The National Assembly set 24 and The Conclusion of The Joint Sittings of
The National Assembly (1 August 2011- 8 December 2013), Bangkok: Bureau
of Printing Services, The Secretariat of The House of Representatives.
Brian McNair. (1995) An Introduction to Political communication. London :
Routledge.
James N. Danziger. (2005) Understanding the Political World: A Comparative
Introduction to Political Science. New Jersey: Pearson Education, Inc.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น