ต้นทุนชีวิต การพัฒนาตนเอง ทักษะทางสังคม และวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
ต้นทุนชีวิต, การพัฒนาตนเอง, ทักษะทางสังคม, วุฒิภาวะทางอาชีพ, นักเรียนอาชีวศึกษาบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับต้นทุนชีวิต ระดับการพัฒนาตนเอง ระดับทักษะทางสังคมและระดับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ 2) ศึกษาเปรียบเทียบวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนชีวิตกับวุฒิภาวะทางอาชีพทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาตนเองกับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางสังคมกับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ จำนวน 615 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนชีวิต ทักษะทางสังคม และวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาอยู่ในระดับสูง และการพัฒนาตนเองของนักเรียนอาชีวศึกษาอยู่ในระดับปานกลาง 2) นักเรียนอาชีวศึกษาที่มีเพศแตกต่างกัน มีวุฒิภาวะทางอาชีพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และนักเรียนอาชีวศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสะสม ระดับการศึกษา สถานภาพการครองคู่ของบิดามารดา อาชีพของหัวหน้าครอบครัว และรายได้ของครอบครัวแตกต่างกัน มีวุฒิภาวะทางอาชีพ ไม่แตกต่างกัน 3) ต้นทุนชีวิตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) การพัฒนาตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 5) ทักษะทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับวุฒิภาวะทางอาชีพของนักเรียนอาชีวศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
Aimsamai, Nattapong. (2015). The Demand for Vocational Education After the
Community Integration. The ASEAN Economic Community in 2015.
Business Review. 6(2), 123-139.
Bank of Thailand (2012). Thai Labor Market: Thai Economic Strengthen Role.
Retrieved January 7, 2016, from http://www.bot.or.th/Thai/
MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/.../DP012013.pdf
Brown and Brook (eds.). (1990). Career Choice and Development (Second
Edition). California, Jossey – Bass, Inc.
Boydell, T. (1985). Management Self-Development: A Guide for Managers,
Organizations and Institution. Switzerland, International Labour, Inc.
Boom, M. (1996). Primary Prevention Practices. The United States of America:
SAGE Publications International Educational and Professional Publisher.
Booth, Janis Grawford. (1985). “Factors Associated with Career Maturity
in Community College Students.” Dissertation Abstract International.
May, 47(3):789-A.
Juthopana, Malinee. (2010). Psychology of Life and Self Development. Buriram:
Rawatprinting.
Labour Market Information Administration Division. (2017). Domestic Demand for
Labor Decreased by 23.18%, Mainly due to The Decrease in
Productivity. Journal Labor Market Situation, 25(2), 1-8.
Megginson, and M. Pedler (eds.). (1992). Self-Development: A Facilitator’s Guide.
London: Mc Graw-Hill, Inc.
Office of The National Economic and Social Development Board, n.d. (2015).
“The Strength and Resilience of The Thai Society Constitutes an
Important Foundation for Further Advancement.” Economic and
Social Development Plan (NESDP) 2012-2016. Retrieved October 7,
2015, from http://www.nesdb.go.th
Sisaket Technical College. (2016). The Information of Sisaket Technical College
Student of 2015. Retrieved January 7, 2016, from http://www.sisat.ac.th
Somjai, Laor. (2013). The Study of Factors with Effecting to Career Maturity of
Mathayomsuksa III Students in Samutprakan Municipality.
Master project, M.Ed. (Guidance and Counseling Psychology).
Srinakharinwirot Univerity.
Songsri, Usa. (2015). Social Skills “Foundation for Success in Work.”
Retrieved October 7, 2015, from http://
www.edu.tsu.ac.th/mis/hr/vieperson.php?hrid=87#
Tripathi, Suriyadeo. (2009). Developmental Assets of Thai Children and Youth. Bangkok : thaihealth.
Tripathi, Suriyadeo et al. (2009). A Guide for Using the Developmental Assets of Children and Youth Survey Tool (Children Edition). Bangkok: Thai health.
Weener, Joan and M. Baker. (1983).“The Education and Personal Characteristic
of the Vocational Immature Yong Adult” Dissertation Abstract
International. July, 44(5):1341-A.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2019 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น