การพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและ ป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน

ผู้แต่ง

  • เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม, พระสงฆ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และ การปฏิบัติเพื่อ
ป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของพระสงฆ์จังหวัดน่าน รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่าง
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ภายใต้กรอบแนวคิดของบลูม โดยการศึกษานี้เป็นผลจาก
การศึกษาเบื้องต้นในกลุ่มตัวอย่างพระสงฆ์จานวน 89 รูปที่จาพรรษาในจังหวัดน่าน เก็บ
รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือ 4 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถาม
ความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบสอบถามการปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเมตาบอลิกซิน
โดรมของพระสงฆ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และหาความสัมพันธ์ด้วย
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน 

ผลการวิจัยพบว่า พระสงฆ์มีความรู้และทัศนคติอยู่ในระดับดี แต่มีการปฏิบัติเพื่อ
ป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง
ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรม
ของพระสงฆ์ พบว่า ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติ (r=.25, p < .05) แต่ไม่พบ
ความสัมพันธ์กับการปฏิบัติ (r=.04, p > .05) ในขณะที่ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ 

การปฏิบัติเพื่อป้องกันภาวะเมตาบอลิกซินโดรมของพระสงฆ์ในจังหวัดน่านอย่างมีนัยสาคัญ
ทางสถิติ (r=.28, p < .05)

เผยแพร่แล้ว

2018-09-20

How to Cite

สุขเหลือง เ. (2018). การพัฒนาต้นแบบวิทยากรพระธรรมทูตสุขภาวะเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะและ ป้องกันกลุ่มอาการอ้วนลงพุงในพระสงฆ์จังหวัดน่าน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(3), 112–119. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/148823