หลักความสัมพันธ์ห้าประการและหลักบรรทัดฐานสาม มุมมองของหลักจริยธรรมกับการรักษาเสถียรภาพของสังคมจีน

Sayumporn Chanthsithiporn

ผู้แต่ง

  • สยุมพร ฉันทสิทธิพร

คำสำคัญ:

หลักความสัมพันธ์ห้าประการ, หลักบรรทัดฐานสาม, จริยธรรม, เสถียรภาพ, หน้าที่

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งอธิบายความสัมพันธ์ของชุดจริยธรรมสองชุดที่ใช้ควบคุมสังคมจีนโบราณ ได้แก่หลักความสัมพันธ์ทั้งห้าประการ (ซึ่งประกอบด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตร กษัตริย์กับขุนนาง สามีกับภรรยา พี่กับน้อง และเพื่อนกับเพื่อน) กับหลักบรรทัดฐานสาม (ซึ่งประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบิดากับบุตร กษัตริย์กับขุนนาง และสามีกับภรรยา) หลักจริยธรรมทั้งสองชุดมีความเกี่ยวข้องทับซ้อนไม่อาจแยกออกจากกันได้ ความสัมพันธ์ทั้งห้าประการมีฐานะเป็นกรอบกาหนดความสัมพันธ์ครอบคลุมทั่วทั้งสังคม ส่วนหลักบรรทัดฐานสามมีฐานะเป็นรากแก้วค้าจุนสังคมไว้อีกชั้นหนึ่ง สาหรับความสัมพันธ์ในแต่ละคู่ ต่างมีคุณธรรมกากับซึ่งถือเป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกันและกัน อีกทั้งแต่ละคู่ความสัมพันธ์ต่างมีลักษณะพิเศษและข้อจากัดที่ควรระวังด้วย ลัทธิหรู หรือ ลัทธิขงจื่อ มองว่าหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกันในคู่ความสัมพันธ์เป็นสิ่งสาคัญกว่ากฎเกณฑ์ลายลักษณ์อักษรและเป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปในสังคม มีผลเป็นสายใยรัดร้อยผู้คนทั่วทั้งสังคมจนกลายเป็นรากฐานหนาแน่นที่สร้างเสถียรภาพให้แก่สังคมจีนมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้หลักจริยธรรมในแบบของลัทธิหรูยังมีลักษณะเด่นคือ มีความเป็นวิภาษวิธีระหว่างหลักความสัมพันธ์ทั้งห้าและหลักบรรทัดฐานสาม ที่เน้นสร้างเสถียรภาพทางสังคมด้วยพื้นฐานทางจิตใจมากกว่าเรื่องของเหตุผล แต่บางครั้งก็สามารถเน้นเหตุผลเหนือพื้นฐานทางจิตใจได้เช่นกัน

Author Biography

สยุมพร ฉันทสิทธิพร

Faculty of Humanities Srinakharinwirot University

เผยแพร่แล้ว

2018-07-04

How to Cite

ฉันทสิทธิพร ส. (2018). หลักความสัมพันธ์ห้าประการและหลักบรรทัดฐานสาม มุมมองของหลักจริยธรรมกับการรักษาเสถียรภาพของสังคมจีน: Sayumporn Chanthsithiporn. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 247–256. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/132837