การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, การให้บริการ, องค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับของความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 2. ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะที่มีต่อการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี 3. ศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลกับ ผู้ใช้บริการ ในกิจกรรมและภารกิจ จำนวน 5 งาน ได้แก่ งานด้านสาธารณสุข การป้องกันระงับโรคติดต่อ, งานด้านพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ งานด้านรายได้หรือภาษี จัดเก็บภาษีในเวลาที่รวดเร็ว งานด้านป้องกันบรรเทาสาธารณภัย การระงับเหตุที่ดี และงานด้านการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลทวีวัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ (= 4.90, S.D.=0.252) งานด้านสาธารณสุข การป้องกันระงับโรคติดต่อ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (=5.00) คิดเป็นร้อยละ 100.00 งานด้านพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม เงินสงเคราะห์เบี้ยยังชีพ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (
=5.00) คิดเป็นร้อยละ 100.00 งานด้านรายได้หรือภาษี จัดเก็บภาษีในเวลาที่รวดเร็ว ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (
=4.98) คิดเป็นร้อยละ 99.60 งานด้านป้องกันบรรเทาสาธารณภัย การระงับเหตุที่ดี ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (
=4.94) คิดเป็นร้อยละ 98.80 และงานด้านการศึกษา ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (
=4.76) คิดเป็นร้อยละ 95.20
References
ชนินทร์ ตั้งชูทวีทรัพย์. (2545). การประเมินผลการบริการประชาชนของสำนักงานทะเบียนอำเภอตามมาตรฐานภาครัฐด้านระบบบริการภาคเอกชนและประชาชน (P.S.O.107) : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอเมืองจันทบุรีจังหวัดจันทบุรี (ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรัชญา เวสารัชช์. (2523). องค์การกับลูกจ้าง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิเชียร เกตุสิงห์ (2538). หลักการสร้างและวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนา พาณิช.
วิฑูรย์ ขาวดี และคณะ. (2563). ความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลยี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สืบค้น 24 ตุลาคม 2567, จาก https://shorturl.asia/sVWCH
วิรัตน์ ชนะสิมมา และทตมัล แสงสว่าง. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ชาระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาลตำบลหนองนาคำ กรณีศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 15-28.
อรุณ ไชยนิตย์ และคณะ. (2560). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการรับบริการองค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลพระนคร, 2(1), 48-62.
อัญชลี ดุสิตสุทธิรัตน์ และคณะ. (2559). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางโปรง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
Weber, M. (1966). The Theory of Social and Economic Organization. New York: The Free Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น