ทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

ผู้แต่ง

  • อรอุมา จีระกมล มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • วัลลภัช สุขสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ปริญญา สร้อยทอง มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ผู้ดูแลในครอบครัว, ทุนทางสังคม, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยทุนทางสังคมประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ ความไว้วางใจ การเกื้อกูลกัน และการสนับสนุนทางเครือข่ายสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลในครอบครัวในเขตพื้นที่สุขภาพที่ 2 ประกอบไปด้วย 5 จังหวัด คือ สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก และเพชรบูรณ์ จำนวนทั้งหมด 386 คน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและนําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเทคนิคการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุ (Multiple Regression Analysis: MRA)

ผลการวิจัยพบว่า ทุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิต 2 องค์ประกอบ คือ การสนับสนุนทางเครือข่ายสังคม มีค่า beta = 0.730 และความไว้วางใจ มีค่า beta = 0.444 และองค์ประกอบด้านการเกื้อกูลกันไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาคือภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรสนับสนุนนโยบายสาธารณะที่ส่งเสริมทุนทางสังคมในด้านการสนับสนุนทางเครือข่ายสังคม โดยสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายทางสังคม การสร้างความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์ บนพื้นฐานการร่วมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และทรัพยากรระหว่างกัน
และส่งเสริมความไว้วางใจของผู้ดูแลในครอบครัวต่อความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ เช่น ครอบครัว เพื่อนบ้านในชุมชน และความสัมพันธ์แบบทางการ เช่น บุคลากรทางการแพทย์

References

กิตติวงค์ สาสวด. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในจังหวัดภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัย, 11(2), 21-38.

จิรนันท์ ปุริมาตย์ และคณะ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 610-619.

ชวลิต สวัสดิ์ผล และคณะ. (2560). การดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(พิเศษ), 387-405.

พัชรี ตันติวิภาวิน. (2555). การก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการเสริมพลังผู้สูงอายุไทยให้เป็นพลังทางเศรษฐกิจและสังคม. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 30(3), 53-70.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

_____. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ลดาวัลย์ ประทีปชัยกูร และคณะ. (2555). คุณภาพชีวิต ความคงอยู่และการสนบสนับสนุนทางสังคมของพยาบาลวิชาชีพในพื้นที่ที่มีความไม่สงบของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

วินัย อ่ำดวง. (2553). คุณภาพชีวิตของประชาชนชาวชุมชนสะพานสาม ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสารสนเทศ, 11(2), 70-75.

ศิราณี ศรีหาภาค และคณะ (2557). รายงานผลการวิจัยเรื่องผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. สืบค้น 22 สิงหาคม 2566, จาก http://digital.nlt.go.th/items/show/8498

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2559). คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักอนามัยผู้สูงอายุ. (2563). รายงานจำนวนผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงรายหน่วยบริการ. สืบค้น

มีนาคม 2563, จาก http://ltc.anamai.moph.go.th

อภิรดี วงศ์ศิริ. (2561). ทุนทางสังคมภายนอกชุมชน : การมีส่วนร่วมของประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์, 35(3), 152-175.

Abbott, S., & Freeth, D. (2008). Social Capital and Health: Starting to Make Sense of the Role of Generalized Trust and Reciprocity. Journal of Health Psychology, 13(7), 874–883.

Acar, E. (2011). Effects of social capital on academic success: A narrative synthesis. Educational Research and Reviews, 6(6), 456-461.

Antoniadis, I. & Charmantzi, A. (2016). Social network analysis and social capital in marketing: theory and practical implementation. International Journal of Technology Marketing, 11(3), 344-359.

Barrett, et al. (2014). Family Care and Social Capital: Transitions in Informal Care. London: Springer.

Grootaert, C., et al. (2004). Measuring social capital: an integrated questionnaire. Washington, D.C.: World Bank.

Ma, Y., et al. (2012). Impact of Individual-Level Social Capital on Quality of Life among AIDS Patients in China. PLOS ONE, 7(11). 1-7.

Newton, K. (2001). Trust, Social Capital, Civil Society, and Democracy. International Political Science Review, 22(2), 201-214.

Nilsson, J., et al. (2006). Social Capital and Quality of Life in Old Age. Journal of Aging and Health, 18(3), 419-434.

Putnam, R. D. (1993). Making democracy work: Civic traditions in modern Italy. New Jersey: Princeton University Press.

Requena, F. (2013). SOCIAL CAPITAL, SATISFACTION AND QUALITY OF LIFE IN THE WORKPLACE. Social Indicators Research, 61, 331-360.

Sato, Y., et al. (2018). Generalized and particularized trust for health between urban and rural residents in Japan: A cohort study from the JAGES project. Social Science & Medicine, 202, 43-53.

Scrivens, K., & Smith, C. (2013). Four Interpretations of Social Capital: An Agenda for Measurement. Paris: OECD Publication.

World Health Organization. (1996). WHOQOL-BREF: introduction, administration, scoring and generic version of the assessment: field trial version, December 1996. Retrieved May 13, 2020, from www.apps.who.int/iris/handle//63529

Wu, F., & Sheng, Y. (2019). Social support network, social support, self-efficacy, health-promoting behavior and healthy aging among older adults: A pathway analysis. Archives of Gerontology and Geriatrics, 85, 43-53.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-01

How to Cite

จีระกมล อ., สุขสวัสดิ์ ว., & สร้อยทอง ป. (2024). ทุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 13(1), 51–63. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/263388