การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์และคู่มือในรูปแบบดิจิทัลสำหรับส่งเสริม การท่องเที่ยววิถีพุทธนานาชาติในเมืองรองของประเทศไทย
คำสำคัญ:
สื่อประชาสัมพันธ์วีดีทัศน์และอินโฟกราฟิก, ท่องเที่ยววิถีพุทธ, เมืองรองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพตลาด กระบวนการพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์วีดีทัศน์และคู่มือดิจิทัลแบบอินโฟกราฟฟิกท่องเที่ยววิถีพุทธนานาชาติในเมืองรอง และนำเสนอและประเมินคุณภาพสื่อทั้งสองชนิด เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณที่เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ชมวีดีทัศน์บนYouTube ระหว่างมิถุนายนถึงตุลาคม 2564 สถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ประเมินคุณภาพสื่อจากความชื่นชอบของผู้ชมวีดีทัศน์และโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 คน
ผลการวิจัย พบว่า 1. ตลาดท่องเที่ยววิถีพุทธนานาชาติในเมืองรอง เกิดจากความสนใจของนักท่องเที่ยวต่อพระพุทธศาสนา มาเยี่ยมชมความงามของวัดและเพื่อปฏิบัติธรรม ปัจจุบันตลาดเติบโตอย่างชะลอตัว เพราะการแพร่ระบาดของโควิด-19 2. กระบวนการผลิตสื่อวีดีทัศน์และคู่มือ มี 5 ขั้นตอน คือ 1) รวบรวมข้อมูลเอกสารและภาพ 2) ขอคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3) เรียบเรียงข้อมูลเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการผลิต 4) การผลิตสื่อวีดีทัศน์หรือคู่มือและ 5) ตรวจสอบความถูกต้องและส่งมอบงาน และ 3. ผลการประเมินคุณภาพของสื่อวีดีทัศน์ และคู่มือดิจิทัลแบบอินโฟกราฟฟิกที่พัฒนาขึ้น พบว่า โดยรวมทั้งสองชนิดมีคะแนนอยู่ระดับที่มีคุณภาพดีมาก
References
ดุลยภาค กรณฑ์แสง. (2565, 29 มกราคม). หัวหน้ากลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา [บทสัมภาษณ์].
วชิระ อินทร์อุดม. (2539). เอกสารประกอบการสอนวิชา 121 703 การผลิตวีดิทัศน์เพื่อการศึกษา. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2564). ข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว ฉบับที่ 12/2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทย ปี พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
โสทรินทร์ โชคคติวัฒน์. (2564). ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในอาเซียน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(1), 85-99.
Ritchie, et al. (2018). Sustainable Development Goal 12: Ensure Sustainable Consumption and Production Patterns. Retrieved February 15, 2022, from https://sdg-tracker.org/sustainable-consumption-production
Smith & Josh. (2012). Infographic of the Day: 10 Steps to Designing an Amazing Infographic. Retrieved December 5, 2021, from www.fastcodesign.com/167
World Bank Group. (2019). Investing the Buddhist Circuit. New Delhi: International Finance Corporation (IFC).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น