การจัดการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของพระสงฆ์ที่ประสบความสำเร็จ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
คำสำคัญ:
พระนักสิ่งแวดล้อม, ภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่น, รูปแบบการจัดการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการจัดการและการอนุรักษ์ของพระนักสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ควบคู่กับการเสนอรูปแบบการจัดการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยพระสงฆ์ที่ประสบความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพระนักสิ่งแวดล้อมจำนวน 9 รูป ใน 9 จังหวัด ผ่านการนำกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ภูมิปัญญานิเวศท้องถิ่นของ Berkes and Folkes (2000) มาประยุกต์ใช้กับการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า 1. พระนักสิ่งแวดล้อมทั้ง 9 รูป มีวิธีการจัดการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของ (1) การผสมผสานความรู้เกี่ยวกับบริบทพื้นที่ ความรู้ทางพระพุทธศาสนา และความรู้ทางสิ่งแวดล้อม (2) มีการดำเนินกิจกรรมที่ครอบคลุมในทุกมิติ (3) มีการอาศัยต้นทุนในเรื่องของความศรัทธาเพื่อสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และ (4) การมีระบบความคิดที่ประสานเชื่อมโยงและเป็นองค์รวม 2. รูปแบบการจัดการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยพระสงฆ์ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งประกอบไปด้วย (1) การบูรณาการความรู้ (2) การดำเนินกิจกรรมที่ครอบคลุมในทุกมิติ (3) การใช้หลักธรรมนำเครือข่าย (4) การคิดอย่างเชื่อมโยงบนพื้นฐานทางธรรม (ชาติ) ร่วมกับการต้องอาศัยปัจจัยในการสนับสนุนได้แก่ คุณสมบัติที่พึงมีของพระนักสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
References
กุลวดี แก่นสันติสุขมงคล. (2555). กลไกการขับเคลื่อนการปรับตัวของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบเครือข่ายลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง และเครือข่ายลุ่มน้ำประแส จังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2527). การประยุกต์ศาสนาและปรัชญาเพื่อการพัฒนาชีวิต และสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิโสภาการพิมพ์.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2548). คนกับป่า : มุมมองจากรากหญ้า. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรมุนี (ป. อ. ปยุตฺโต). (2527). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.
พินิจ ลาภธนานนท์. (2549). กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมกับการเปลี่ยนแปลงบทบาทการพัฒนาการของพระสงฆ์นักพัฒนาในภาคอีสาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2530). พุทธศาสนากับการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายชล ปัญญชิต และพฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ. (2562). ภูมิปัญญากับการพัฒนา: บทวิเคราะห์ว่าด้วยการบวชป่าเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 253-263.
สมภาร พรมทา. (2547). กิน : มุมมองของพุทธศาสนา. กรุงเทพฯ : โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Berger, P. L., et al. (2008). Religious America, Secular Europe? A Theme and Variations. Aldershot: Ashgate.
Berkes, F., & Folke, C. (edited). (2000). Linking Social and Ecological Systems: Management Practices and Social
Mechanisms for Building Resilience. United Kingdom: Cambridge University Press.
Christensen, R. Scott. (1991). The Politics of Democratization in Thailand: State and Society Since 1932. Bangkok: Thailand Development Research Institute.
Craig, J. R. (1994). Predicaments of Modern Thai History. Southeast Asia Research, 2(1), 64-90.
Crosby, K. (2013). Theravada Buddhism: Continuity, Diversity, and Identity. Chichester: Wiley-Blackwell.
Danforth, J. (2015). The Relevance of Religion: How Faithful People Can Change Politics. Random House; First Edition.
England, P. (1996). Seeing Forests for Trees: Environment and environmentalism in Thailand. Chiang Mai: Silkworm Books.
Ishii, Y. (1986). Sangha, State, and Society: Thai Buddhism in History. Translated by Peter Hawkes, Monograph of the Center for Southeast Asian Studies, Kyoto University. Honolulu: The University of Hawaii Press.
Laird, J. (2000). Money politics, globalization, and crisis: The case of Thailand. Singapore: Graham Brash.
Pasuk, P., & Chris, B. (1998). Thailand’s Boom and Bust. Chiang Mai: Silkworm Books.
Sacks, H. J. (2011). The Great Partnership: Science, religion, and the search for meaning. New York, NY: Schocken Books.
Tambiah, S. J. (1976). World Conqueror and World Renouncer: A Study of Buddhism and Polity in Thailand against a Historical Background. Cambridge.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น