รูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • อชิระ วิริยสุขหทัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหาร, สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา ประชากรมาจากเขตตรวจราชการที่ 14 จำนวน จำนวน 520 คน สัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการสถานศึกษาต้นแบบ จำนวน 4 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญกลุ่ม เป้าหมาย จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน เลือกแบบเจาะจง ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 21 คน การเลือกแบบเจาะจง ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาเป็นด้านการทำงานเป็นทีมและด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ส่วนด้านการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) รูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา มีองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน ได้แก่การมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีองค์ประกอบย่อย 13 องค์ประกอบ 75 ตัวชี้วัด

References

ชัชพล รวมธรรม. (2564, 31 พฤษภาคม). ผู้อำนวยการโรงเรียนยโสธรพิทยาคม [บทสัมภาษณ์].

ทรงสิริ วิชิรานนท์ และคณะ. (2561). ความต้องการจำเป็นในการจัดสภาพแวดล้อที่เอื้อต่อการพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, 3(1), 77-77

ธิดารัตน์ การันต์. (2560). การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สหวิทยศึกษา ซับสนุ่น–หนองย่างเสือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรี เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 3(1), 195-195

ธีระ รุญเจริญ และวาสนา ศรีไพโรจน์. (2554). กลยุทธ์การพัฒนาความเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.

ประสิทธิ์ ไชยศรี. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. หน้า 1.

วนิดา รุ่งโรจน์สันติสุข. (2561). แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัด ปทุมธานี, การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 8

ศักดิ์สิทธิ์ สุภสร. (2558). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุแบบพหุระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพในการบริหารจัดการสถานศึกษาสู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา) อุบราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุขุมาลย์ พนิชการ และ พัชรีวรรณ กิจมี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้กับประสิทธิผลในการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยม สังกัดกลุ่มดอยสามหมื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 3(1), 303-303.

สุธีรา งามเกียรติทรัพย์. (2560). การสร้างบรรยากาศในการเรียนให้เกิดความคิดสร้างสรรค์.วารสารอนัมนิกาย, 1(1), 27-27.

สุพร คมขำ. (2558). การศึกษารูปแบบการพัฒนาวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

องอาจ จูมสีมา. (2564, 10 มิถุนายน). ผู้อำนวยการโรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ [บทสัมภาษณ์].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-07

How to Cite

วิริยสุขหทัย อ. (2022). รูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(6), R60- R71. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255769