การศึกษาเรื่องเล่า ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กับการต่อรองเชิงอำนาจ จากทุนภายนอกของชุมชน

ผู้แต่ง

  • อัษฎาวุฒิ ศรีทน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุมารินทร์ ตุลารักษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: ตำนานประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ชุมชนเทือกเขาภูเวียง การต่อรองเชิงอำนาจจากทุนภายนอก

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้เป็นการศึกษาเรื่องเล่า ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นกับการสื่อสารความหมาย เพื่อใช้ในการต่อรองเชิงอำนาจจากทุนภายนอก ในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น

จากการศึกษาพบว่า ชุมชนในพื้นที่เทือกเขาภูเวียง อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น ได้สร้างสำนึกร่วมให้กับคนในชุมชนผ่านการสื่อสารความหมายทางวัฒนธรรม เพื่อใช้ต่อรองเชิงอำนาจจากทุนภายนอก ซึ่งประกอบด้วย 5 ตำนาน ได้แก่ 1. ตำนานภูเวียงหัวเมืองเดียวขึ้นตรงต่อเวียงจันทน์ 2. ตำนานภูเวียง ยุคนายพรานสิงห์กวนทิพย์มนตรี และท้าวศรีสุธอเจ้าเมืองภูเวียง 3. ตำนานพระยานรินทร์สงคราม (ทองคำ) ปากช่องเมืองภูเวียงในฐานะทหารเอกเจ้าอนุวงศ์ 4. ตำนานลายแทงทุ่งใหญ่เสาอารามเทือกเขาภูเวียง 5. ตำนานประเพณีบุญสัจจาหรือบุญเดือนหก (บุญบั้งไฟ) ชาวอำเภอเวียงเก่า กล่าวได้ว่าเรื่องเล่า ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการต่อรองเชิงอำนาจจากทุนภายนอกเป็นอย่างยิ่ง

References

เกรียงไกร เกิดศิริ. (2555). กายภาพของพื้นที่ในสังคมหรือชุมชนมรดกโลกทางภูมิทัศน์วัฒนธรรมแห่งจำปาสัก (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวัฒนธรรม ศิลปกรรม และการออกแบบ). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เฉลียว สุริยมาตย์. (2556). ภูเวียงเมืองประวัติศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ขอนแก่นการพิมพ์.

เชาวน์มนัส ประภักดี. (2552). วงศาวิทยาของเพลงลาวแพน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

บุ่น สร้อยแก้ว. (2559, 13 มีนาคม). ผู้ได้รับรางวัลคนดีศรีภูเวียง [บทสัมภาษณ์].

พระครูสุตธรรมานุกูล. (2563, 20 ธันวาคม). เจ้าคณะอำเภอเวียงเก่าจังหวัดขอนแก่น [สัมภาษณ์].

พระอาจารย์นาวิน อนาลโย. (2563, 23 ธันวาคม). เลขาเจ้าคณะอำเภอภูเวียง อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

พระอาจารย์หลวง วัฒโณ. (2564, 15 มกราคม). วัดจันทราราม บ้านเมืองเก่า อำเภอเวียงเก่า จังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

พิเชฐ สายพันธ์. (2544). “ผีผู้ไท”: ความหมายในความตายและตัวตน. กรุงเทพฯ: คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไมสิง จันบุดดี. (2559). อนุสาวรีย์: ภาพสะท้อนด้านอัตลักษณ์ ประวัติศาสตร์ การเมือง และความสัมพันธ์ในสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิศาล อเนกเวียง. (2564, 15 มกราคม). บ้านดอนหัน ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียงจังหวัดขอนแก่น [บทสัมภาษณ์].

ศิราพร ณ ถลาง. (2558). "คติชนสร้างสรรค์" บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

สมปอง มูลมณี. (2561). ตำนานประจำถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้: เรื่องเล่าเชิงนิเวศกับการต่อสู้และต่อรองทางสังคมและวัฒนธรรม. วารสารคณะมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ (มมส), 16(2), 69-92.

หลวงปู่ธีร์ เขมจารี. (2537). ภูเวียงเมืองประวัติศาสตร์ หนังสือพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ธีร์ วัดมิ่งเมืองพัฒนาราม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มิตรภูเวียงจำกัด.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2559). ความหวาดระแวงต่อพื้นที่ทางสังคม. กรุงเทพฯ: มติชน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-27

How to Cite

ศรีทน อ., & ตุลารักษ์ อ. . (2022). การศึกษาเรื่องเล่า ตำนาน ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น กับการต่อรองเชิงอำนาจ จากทุนภายนอกของชุมชน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(5), A1-A12. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/255211