การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อสร้างขวัญกำลังใจ ของทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11
คำสำคัญ:
หลักพุทธธรรม, ขวัญกำลังใจ, ทหารเกณฑ์บทคัดย่อ
บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพทั่วไป ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจ และ การบูรณาการหลักพุทธธรรมในการสร้างขวัญและกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 การวิธีวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 27 รูปหรือคน ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ และการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 จำนวน 386 กลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยเชิงเส้นอย่างง่าย และการถดถอยแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 ทำหน้าที่ของชายไทยที่ต้องรับใช้ประเทศชาติ ได้รับเกียรติและการยกย่องว่าเป็น “รั้วของชาติ” และมีความคาดหวังต่ออนาคต 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อขวัญกำลังใจ ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพ และหลักสังคหวัตถุ 4 3. การประยุกต์หลักสังคหวัตถุในการสร้างขวัญและกำลังใจทหารเกณฑ์ในมณฑลทหารบกที่ 11 ดังนี้ “ด้านสมานัตตา การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย โดยการฝึกให้รักชาติ มีความเข้มแข็ง รู้จักอดทน มีวินัยในตนเอง และเชื่อฟังคำสั่งผู้บังคับบัญชา” “ด้านอัตถจริยา การประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ทั้งตนเองและผู้อื่น ให้มีน้ำใจและช่วยเหลือกัน” “ด้านทาน การให้ความรู้และโอกาส เกี่ยวกับการป้องกันตัวและวิชาชีพ และ “ด้านปิยวาจา การพูดที่เป็นประโยชน์ อบรมด้วยคำพูดที่ดีมีสาระ ใช้วาจาที่เป็นมิตร จริงใจ และให้อภัย” ตามลำดับ
References
คติยา อายุยืน. (2558). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะบุคคลตามหลักพุทธธรรมของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคใต้ตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหิศวรณ์ ชัยเพ็ชร. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ นายทหารชั้นสัญญาบัตรสังกัดกองบัญชาการกองทัพภาคที่ 3 (งานวิจัยส่วนบุคคล). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการทัพบก.
สุชาย ทะสุวรรณ. (2561). แนวทางการสร้างขวัญและกำลังใจของทหารกองประจำการตามหลักพรหมวิหาร 4: ศึกษาเฉพาะกรณี กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
อภิเชษฐ ชุ่มวารี. (2560). การตัดสินใจของทหารกองเกินร้องขอเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจ าการ ในพื้นที่กองทัพภาคที่ 3 (เอกสารวิจัยส่วนบุคคล). กรุงเทพฯ:วิทยาลัยการทัพบก.
Yamane, Taro. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น