พุทธบูรณาการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืน ในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ไตรสิกขา, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, เขาใหญ่บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อนำเสนอโมเดลการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างความยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา วิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 19 รูปหรือคน และวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง 550 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและข้อสรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติประยุกต์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา คือ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านบริการท่องเที่ยว การส่งเสริมการตลาด และประชาสัมพันธ์ 2) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร ตัวแปรแฝงภายใน 3 ตัวแปร 3) โมเดลการส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างความยั่งยืนในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จังหวัดนครราชสีมา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์ 4.49 องศาอิสระ 2 ความน่าจะเป็น .106 อธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 89.00
References
คมพล สุวรรณกูฏ และคณะ. (2558). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเพื่อการเสริมรายได้ภาคเกษตรกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง (รายงานวิจัย). จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ณัฏฐพัชร มณีโรจน์ และ นราศรี ไววนิชกุล. (2559). ความสามารถในการแข่งขันการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของประเทศไทย. วารสารปาริชาต, 29(1), 196-200.
บุษกร วัฒนบุตร. (2555). การนำพุทธญาณวิทยา (ไตรสิกขา) และตัวแบบ KSM เพื่อสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรมหาชน (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ยุพิน อุ่นแก้ว และโชคชัย สุเวชวัฒนกูล. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 10-15.
วุฒิชาติ สุนทรสมัย และปิยะพร ธรรมชาติ. (2559). รูปแบบการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสุขภาพของจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อการพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารสมาคมวิจัย, 21(3), 167-168.
สุทธิชัย โล่นารายณ์ และคณะ. (2561). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงบูรณาการของจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการวิจัยและพัฒนา วไลอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 321-322.
พรรณี ตั้งใจสถาปัตย์. (2560). การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ. สืบค้น 8 พฤษภาคม 2564, จาก https://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/news_detail/WNRPT6012070010002
ธีระ สินเดชารักษ์ และนาฬิกอติภัค แสงสนิท. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : การรับรู้ของนักท่องเที่ยว ความพร้อมของเจ้าของกิจกรรม และความเป็นไปได้ของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศุภณัฐ ชูศิลป์ทอง. (2557). ต้องการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของแฟนคลับฟุตบอลลีกอาชีพของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิทยา อินทร์พงษ์พันธุ์. (2561). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของประเทศไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 43-61.
Dickman, C.R. (1996). Overview of the Impacts of Feral Cats on Australian Native Fauna. Australian Nature Conservation Agency: Canberra.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น