การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • สาคร เพ็ชรสีม่วง มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอ่างทอง

คำสำคัญ:

ความสัมพันธ์, ปัจจัย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, สถาบันการพลศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษา 204 คน ที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 85 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 0.79 0.87 0.79 0.82 และ 0.88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานการวัดของตัวแปร วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณของปัจจัยนิสัยในการเรียน เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน เชาวน์ปัญญาทางอารมณ์ สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน การรับรู้พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.22 (R = 0.22) แสดงให้เห็นว่าปัจจัยทั้ง 6 ด้าน สามารถอธิบายการส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาได้น้อย (R2 = 0.05) และค่าน้ำหนักความสำคัญในรูปคะแนนดิบ (b) ของปัจจัยนิสัยในการเรียน เจตคติต่อการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียน เชาวน์ปัญญาทางอารมณ์ สัมพันธภาพระหว่างนักศึกษากับเพื่อน การรับรู้พฤติกรรมการสอนของอาจารย์ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ขนิษฐา บุญภักดี. (2552). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

ดวงกมล บุญธิมา. (2549). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาปริญญาโท สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บังอร มากดี. (2548). องค์ประกอบที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาระบบการจัดการฐานข้อมูลของนักศึกษาโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี (รายงานผลการวิจัย). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ปราณี เพ็ชรศิริ. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรีชา สุทธิเนียม. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักศึกษาการศึกษานอกโรงเรียนศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนกรุงเทพมหานคร 1 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำรวน ชินจันทึก. (2547). การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุคนทา โหศิริ. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความเครียด แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุมาลี สุวรรณภักดี. (2541). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลในเขตภาคใต้ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัญญาณี ทิวทอง. (2543). ตัวแปรคัดสรรทางจิตวิทยาที่สัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตการศึกษา 11 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาทางการศึกษา) กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bloom, B. S. (1976). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill-Book Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-21

How to Cite

เพ็ชรสีม่วง ส. (2022). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตอ่างทอง. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(2), 97–108. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/252264