การบริหารจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การพัฒนา, การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณีบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป สภาพปัญหาในการบริหารจัดการ ศึกษาตัวชี้วัดและนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีโบราณสถานที่สวยงาม สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั่วโลก เป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีความหลากหลายทางด้านศาสนา และเป็นเมืองแห่งสันติสุข แต่กลับพบว่าวัดส่วนใหญ่เน้นการท่องเที่ยวไหว้พระเพียงรูปแบบเดียว ขาดการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว 2. ตัวชี้วัดในการบริหารจัดการและการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 8 องค์ประกอบ 19 ตัวชี้วัด มีการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น 3) รูปแบบการบริหารจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและประเพณี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า มี 3 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดึงดูดใจด้านการท่องเที่ยว มีการจัดสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเหมาะสม เป็นต้น (2) รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการรองรับด้านการท่องเที่ยว มีการสร้างแรงจูงใจให้แก่คนในชุมชนเกิดแรงบันดานใจและรู้สึกภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนของตนเอง เป็นต้นและ (3) รูปแบบด้านการบริหารจัดการ มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบสร้างสรรค์ เป็นการเรียนรู้ด้านวัฒนธรรมและเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนได้
References
ชัยวัชร พรหมจิตติพงศ์ และสาติยา มิ่งวงศ์. (2555). พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ : กรณีศึกษาโบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยว, 7(2), 39 – 56.
ชุมพล พืชพันธ์ไพศาล. (2561). ความพร้อมของแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนาไปสู่การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน (พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง). วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(4), 242 – 251.
ธนรัตน์ รัตนพงศ์ธระ และคณะ. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชุมชนอโยธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 5(2), 8 – 16.
ธาตรี มหันตรัตน์. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลกแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาและเมืองบริวารอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(3), 31 - 78.
พระมหากวินท์ ยสินฺทวํโสและคณะ. (2561). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(1), 145 – 156.
พะยอม ธรรมบุตร. (2548). เอกสารประกอบการเรียนการสอนเรื่องหลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. กรุงเทพฯ: สถาบันการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มานพ ถนอมศรี. (2547). อยุธยา เมืองประวัติศาสตร์ มรดกโลก. กรุงเทพฯ: พี พี เวิลด์ มีเดีย.
ระพีพรรณ ใจภักดี. (2548). คู่มือชมศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แสงแดดเพื่อเด็ก.
ราณี อสิชัยกุล. (2546). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการจัดการการท่องเที่ยว = Professional experience in tourism management. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญและคณะ. (2561). แผนยุทธศาสตร์สำหรับโครงการการอนุรักษ์และพัฒนามรดกโลกพระนครศรีอยุธยา, วารสารการบริหารปกครอง, 7(1), 229 – 247.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น