การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก
คำสำคัญ:
การปกครองท้องถิ่น, รูปแบบพิเศษ, เทศบาลนครแม่สอดบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ศึกษาปัจจัยจำเพาะของท้องถิ่น และนำเสนอรูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษตามปัจจัยจำเพาะของท้องถิ่นของเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ จำนวน 20 คน วิเคราะห์ด้วยการพรรณนาเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1. สภาพปัญหาของเทศบาลนครแม่สอด ด้านผลกระทบอันเกิดจากความเป็นเมือง เช่น วิถีชีวิต อาชีพ และวัฒนธรรม และความเป็นอิสระ ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง ด้านลักษณะพื้นที่จำเพาะ ปัญหาการจัดสรรพื้นที่ ด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรม การจัดสวัสดิการ รักษาเอกลักษณ์เฉพาะตัว 2. ปัจจัยจำเพาะของท้องถิ่นในการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเทศบาลนครแม่สอด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.53) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านผลกระทบอันเกิดจากความเป็นเมือง (
=3.80) ด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง (
=3.55) ด้านลักษณะพื้นที่จำเพาะ (
=3.46) และส่วนด้านชาติพันธุ์และวัฒนธรรม อยู่ในระดับปานกลาง (
=3.41) ตามลำดับ 3. รูปแบบการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษของเทศบาลนครแม่สอด จังหวัดตาก ตามหลักอปริหานิยธรรม โดยการให้ประชาชนเข้าร่วมรับฟัง ผลกระทบที่เกิดจากการเป็นเมือง การให้ร่วมรับรู้กติกา เพื่อสร้างสามัคคี ทำให้คนที่หลากหลายชาติพันธ์อยู่กันอย่างสันติสุข มีส่วนร่วมกิจกรรมการพัฒนาเมือง และปฏิบัติตามหลักการอยู่ร่วมกัน การยอมรับในความเสมอภาค การเคารพกฎของหน่วยงานท้องถิ่น การร่วมอนุรักษ์ประเพณีของเมืองที่มีความหลากหลายวัฒนธรรม และให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน
References
กาญจนา ดำจุติ. (2557). การส่งเสริมการมีส่วนร่วมตามหลักพุทธธรรมของผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ทิพย์สุดา ธรรมลาภากุล. (2560). การเมืองในการกำหนดนโยบายพื้นที่เศรษฐกิจการค้าชายแดน จุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เทศบาลนครแม่สอด. (2562). ความเป็นมาและพัฒนาการของเทศบาลนครแม่สอด. สืบค้น 15 มกราคม 2562, จาก http://www.nakhonmaesotcity.go.th
ปัณณพงศ์ วงศ์ณาศรี. (2555). บูรณาการการดำเนินงานตามแนวอปริหานิยธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดสงขลา (วิทยานิพนธ์ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
วสันต์ เหลืองประภัสร์. (2554). แนวทางการกำหนดขอบข่ายและรูปแบบในการดำเนินภารกิจหน้าที่ของนครแม่สอด ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ. (รายงานฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วุฒิสาร ตันไชย. (2559). การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในพื้นที่แม่สอด: ความเป็นมาและความท้าทาย. วารสารธุรกิจปริทัศน์, 8(2), 1-2.
สถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.). (2551). การจัดตั้งองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษแม่สอด จังหวัดตาก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สันต์ไชย รัตนะขวัญ. (2562). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ. สืบค้น 15 มกราคม 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
สันติศักดิ์ กองสุทธิ์ใจ. (2560). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน โดยการบริหารท้องถิ่นพิเศษในรูปแบบนครแม่สอด. (รายงานการวิจัย). นครสวรรค์:คณะบริหารและการจัดการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.
อัครเดช พรหมกัลป์. (2562). เหลียวหลังแลหน้าการเมืองการปกครองภายใต้เขตเศรษฐกิจแม่สอด - ตาก. พระนครศรีอยุธยา: การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ 3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น