ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นใน จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ สุขเจตนี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ยุทธนา ปราณีต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจทางการเมือง, ประชาชน, นักการเมืองระดับท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 400 คน จากประชาชน จำนวน 910,789 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีความไว้วางใจทางการเมืองต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=3.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมนักการเมือง (gif.latex?\bar{X}=3.62) ด้านนโยบาย (gif.latex?\bar{X}=3.59) ด้านการบริหารงานของท้องถิ่น (อปท.) (gif.latex?\bar{X}=3.51) และด้านการสื่อสารทางการเมือง (=3.44) ตามลำดับ

References

จริยา มหายศนันทน์ (2558). การพัฒนาบทบาทและหน้าที่ในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จักรพงษ์ หนูดำ. (2557). ความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อองค์การบริหารส่วนตำบลระหว่างองค์การ บริหารส่วนตำบลช่องกับองค์การบริหารส่วนตำบลปลักหน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 3(1), 20.

ชิตพล กาญจนกิจ. (2545). ความไว้วางใจทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการเมืองท้องถิ่นไทย : ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบล. (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูศักดิ์ เที่ยงตรง. (2518). การบริหารการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัทราวดี ศรีบุญสม. (2559). ความไว้วางใจของสาธารณชนที่มีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง. วารสารบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 9(2), 45.

วรินทร รองกลัด. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความไว้วางใจในองค์การ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องดื่มและอาหารแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Aberbach, J. D. & Walker, J. L. (1970). Political Trust and Racial. New York: Addison-Wesley.

Kornhauser, W. (1960). The Politics of Mass Society. London: Routeledge and Kegan Paul.

Luhmann, N. (1979). Trust; And, Power: Two Works. Wiley.

Yamane, T. (1967). Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harpen and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-20

How to Cite

สุขเจตนี ไ., ปราณีต ย. ., & สุยะพรหม ส. (2021). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นใน จังหวัดนนทบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 267–276. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/245804