พุทธะมาร์เก็ตติ้ง
คำสำคัญ:
พุทธะ มาร์เก็ตบทคัดย่อ
พบหนังสือ “พุทธะมาร์เก็ตติ้ง” ที่ร้านหนังสือชื่อดังในสถาบันการศึกษา NIDA โดยชื่อก็น่าสนใจเพราะมีคำว่า “พุทธะ” ทั้งยังทำให้คิดต่อไปได้อีกว่า แล้วการตลาดเกี่ยวอะไรกับพระพุทธศาสนา เป็นคำถามที่เกิดขึ้นในใจ โดยมีคำโปรยปกด้านหน้าว่า “หนังสือเล่มแรกที่รวบรวมสองศาสตร์ต่างสุดขั้วเปิดมิติใหม่ทางการตลาดสู่ความสำเร็จอย่างเหนือชั้น” (Som Sujeera,Anothai Ne,2015) ความสนใจและความอยากรู้ว่าผู้เขียนจะเขียนอะไรจึงไม่ลังเลที่จะหยิบมาพลิกอ่านตรวจสอบและซื้อหา เมื่ออ่านไปพบว่ามีผู้ทรงคุณวุฒิให้คำนิยมไว้หลายท่านอาทิ รองศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์ ชัยเลิศ พิชิตพรชัย (อธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) เสนอว่า “...หนังสือ "พุทธะมาร์เก็ตติ้ง" จับอารมณ์ทางธรรมต่างๆ เช่น โลภ โกรธ หลง มาบูรณาการกับหลักการตลาดได้อย่างกลมกลืนและน่าติดตาม...”หรือของรองศาสตราจารย์ ดร. ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา (คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์) กับประโยคสรุปต่อหนังสือที่ว่า “...การตลาดเป็นเนื้อหาทางโลกที่วนเวียนอยู่กับกิเลสไม่สิ้นสุด หนังสือ "พุทธะมาร์เก็ตติ้ง" ของหมอสม กับ ดร. อโณทัย น่าจะเป็นหนังสือ ที่ช่วยจุดประกายให้มีการนำสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ไปใช้ในชีวิตและธุรกิจได้มากขึ้น...” หรือคำนิยมของ อาจารย์ถาวร โชติชื่น นักพูดนักบรรยายชื่อดังให้ทัศนะว่า “...เคล็ดลับความสำเร็จอยู่ที่การผสมผสานทั้งสองศาสตร์เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน เมื่อเข้าสู่จุดสมดุลจะช่วยสร้างสรรค์ทั้งธุรกิจและศาสนาให้ยั่งยืนได้....” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรีย์ เข็มทอง (ประธานกรรมการประจำสาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) กับประโยคเกริ่นนำในหนังสือที่ว่า “...หนังสือ "พุทธะมาร์เก็ตติ้ง" บูรณาการความรู้อย่างกระชับระหว่างศาสตร์ทางการตลาดและธรรมะเข้าด้วยกันอย่างน่าสนใจ เนื้อหาหนังสือเล่มนี้สามารถช่วยพัฒนาและสร้างสรรค์ ความรู้และแนวคิดงานทางการตลาดได้อย่างมีคุณค่า...” เมื่ออ่านคำนิยมจบจึงไม่ลังเลที่จะซื้อหนังสือ จะด้วยเหตุผลว่าเราเป็นชาวพุทธที่มีคำว่า “พุทธะ” หรือจะด้วยเหตุผลในเรื่องการตลาดที่มีการผสมผสานกันอย่างลงตัวต่อคำโปรยปกก็ตาม แต่ที่น่าสนใจกว่าคือการนำเรื่องในหนังสือมาเล่าแบ่งปันให้เป็นความรู้น่าจะเป็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้น พระพุทธศาสนามีเทคนิคการตลาดหรือไม่ หรือการตลาดเน้นการยั่วยุ กระตุ้นเร้าเป็นเรื่องของกิเลส ที่ต้องการให้คนบริโภคผ่าน “อายตนะทั้ง 6” อันประกอบไปด้วยการยั่ว ยุ กระตุ้น เร้า เพื่อให้คน “บริโภค” ผ่าน “ตา-หู-จมูก-ลิ้น-กาย-ใจ” อันเป็น “ผัสสะ” ที่ส่งผลต่อการสัมผัสได้ง่าย ส่งผลต่อการกระตุ้นเร้าไปสู่การตัดสินใจบริโภค ตามเทคนิคและเป้าหมายของการตลาด แล้วพระพุทธศาสนามองเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งผู้เขียนหนังสือก็ได้นำแนวคิดและศาสตร์ทั้ง 2 มาสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นในการบริโภค ตามหลักการตลาดอย่างมีสติ ท่าทีที่ผ่อนปรนต่อการบริโภคจนกลายเป็น “บริโภคอย่างมีสติ” และดำเนินชีวิตอย่างมี“ความสุข” (สันติ-Happiness) ภายใต้หลักเกณฑ์แห่งความสมดุล (มัชฌิมาปฏิปทา-Balance) ตามหลักปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาที่ผสานอย่างลงตัวด้วยเช่นกัน
References
Chin Throng Amornsiri. Essence of Buddhist Propagation by Buddhist Marketing : แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยวิธีการทางการตลาดเชิงพุทธ. Deseatation of Buddhist Studies : Graduate of Mahachulalongkorn University
Phramaha Kumpol Malai/Kunungkaro and Others (2016). Organization Management for Learning Organization In The Cognitive Constructivism Based : การบริหารจัดการองค์กรเพื่อการสร้างองค์กรแห่งการ เรียนรู้บนฐานแห่งพุทธิปัญญา . Journal of MCU Social Science Review.5 (2): 205-220 [ISSN 2287-012 1]. (Thai)
Prayudh Payutto.(2550). Educaiton Start when how to know for living, eating. Bangkok : Buddhadham Foundation. (Thai)
Phramaha Krisada Kittisopano/Saelee and Others (2016). Reconciliation Building By Five Precepts Observing Village Project In Ayutthaya Province. Journal of MCU Social Science Review. 5 (3) : 55-62 [ISSN 2287-012 1]. (Thai)
Som Sujeera,Anothai Ne. (2015). Buddha Marketing. Bangkok : Som Sujeera Press. (Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2018 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น