ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย

ผู้แต่ง

  • ภูมิพัฒน์ เสน่ห์พูด

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, พนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แจกแบบสอบถามให้แก่พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล จานวน 84 คน และนำแบบสอบถามมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปสถิติที่ใช้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t - test และ F – test

ผลการวิจัย พบว่า 1. พนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31- 40 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือนอยู่ระหว่าง 7,001-10,000 บาท และมีระยะเวลาการปฏิบัติงาน ต่ำกว่า 5 ปี 2. ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า พนักงานส่วนในองค์การบริหารส่วนตำบล มีค่าเฉลี่ยสูงเรียงตามลาดับ ดังนี้ ความสามารถในการสร้างความสัมพันธภาพ รองลงมาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การมีส่วนร่วม ลักษณะการปฏิบัติงาน เทคนิคความรู้และความสามารถในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือ และความสามารถในด้านทักษะการบริหาร ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 3. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า ภาพรวม ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่มีเพศ อายุ

ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่แตกต่างกัน รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อการวิจัย ดังนี้ 1) พนักงานควรมีการฝึกอบรม ทักษะ ความรู้ความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน มีการประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานและแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ระหว่างผู้ปฏิบัติงานร่วมกัน 2) องค์กรควรกำหนดนโยบาย หรือวางแนวทางในการพัฒนาพนักงาน และองค์กรเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น 3) ควรจัดสรรค่าตอบแทนและสวัสดิการให้แก่พนักงานอย่างเหมาะสม เพื่อกระตุ้นจูงใจให้พนักงานเกิดขวัญกาลังใจที่ดีในการปฏิบัติงาน 4) หน่วยงานควรจัดซื้อ เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และนาเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงาน ที่จะช่วยเอื้ออานวยให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว อย่างถูกต้องและแม่นยา ในการปฏิบัติงานของพนักงานมากยิ่งขึ้น 5. ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย พบว่า ภาพรวมประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ที่แตกต่างกัน ไม่มีผลทำให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ไม่แตกต่างกัน และรายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน มีผลทาให้ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

References

โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2546.
โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หลักรัฐศาสตร์. คณะสังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.
ขวัญใจ มีทิพย์. “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน : ศึกษาเฉพาะกรณีกองพันปฏิบัติการพิเศษ 1 (Commando) กรมปฏิบัติการพิเศษ หน่วยบัญชาการอากาศโยธิน กองบัญชาการยุทธทางอากาศ กองทัพอากาศ.” วิทยานิพนธ์รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2545.
จารุวัตร กลิ่นอยู่. “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานองพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล : ศึกษากรณีอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย”. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2550.
ชาญนรงค์ พรรครุ่งโรจน์. ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุธาการพิมพ์, 2546.
ทิพาวดี เมฆสวรรค์. การส่งเสริมประสิทธิภาพในระบบราชการ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน ก.พ., 2538. นคร บางนิ่มน้อย. “ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพนักงานการเดินรถการรถไฟแห่งประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีนายสถานีรถไฟในสังกัดกองจัดการเดินรถ เขต 2”. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2546.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสานักพิมพ์ ส.ส.ท., 2543.
พิบูล ทีปะปาล. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : อมรการพิมพ์, 2550.
วิเชียร วิทยอุดม. พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธีรฟิล์มและไซเท็ก, 2549.
ศรีวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. ทฤษฎีองค์การ. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร, 2545.
สมพงษ์ เกษมสิน. การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช, 2531.
สุรพล พยอมแย้ม. จิตวิทยาสัมพันธภาพ. กาญจนบุรี : สหายพัฒนาการพิมพ์, 2548.

เผยแพร่แล้ว

2020-05-05

How to Cite

ภูมิพัฒน์ เสน่ห์พูด. (2020). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2-05), 627–638. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/242594