หมู่บ้านรักษาศีล 5 : รูปแบบและกระบวนการเสริมสร้าง วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของสังคมไทย
คำสำคัญ:
หมู่บ้านรักษาศีล 5,วัฒนธรรม, วัฒนธรรมการอยู่ร่วมกัน,สังคมไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด องค์ประกอบ ตัวชี้วัด บทเรียน และการบูรณาการการรักษาศีล 5 ตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 2) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์และกระบวนการรักษาศีล 5 ในระดับบุคคล องค์กร และชุมชนตามโครงการหมู่บ้านศีล 5 3) เพื่อศึกษากระบวนการสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชน ตามโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5: กรณีศึกษาหมู่บ้านในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ และ 4) เพื่อสร้างเกณฑ์มาตรการดาเนินชีวิตของชุมชนในสังคมไทยตามหลักศีล 5 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1) แนวคิดในการดาเนินงานของโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 โดยตรง ได้กำหนดไว้ใน 2 ประการ คือ (1) การสร้างเครือข่าย คือการดาเนินการเพื่อเชิญชวนให้คนในหมู่บ้านมาร่วมกันรักษาศีล 5 เพื่อเชื่อมโยงกลุ่มคนที่สมัครใจที่จะมาร่วมกันรักษาศีล 5 ภายใต้พื้นฐานของความเคารพสิทธิ เชื่อถือ เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน โดยมีหลักการ คือ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในเครือข่ายต้องเป็นโดยสมัครใจ มีการรับรู้และมุมมองที่เหมือนกัน การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย มีการเสริมสร้างซึ่งกัน และกันและการเกื้อหนุนพึ่งพากัน (2) การประชาสัมพันธ์ส่งต่อความดี คือการประกาศ เชิญชวนให้บุคคล หมายถึงประชาชนชาวบ้านหรือพุทธศาสนิกทั้งหลายในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ หรือจังหวัดของตนเองทาความดี ด้วยการรักษาศีล 5 ในชีวิตประจาวัน 2) แนวทางการสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนภายใต้โครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ชุมชนจะต้องสร้าง (1) ชุมชนต้องมีผู้นำที่ตั้งตนอยู่ในศีล 5 (2) มีการสร้างกฎกติกาและมีการเคารพกฎกติกา (3) อยู่ร่วมกันโดยใช้หลักความเมตตา (4) ไม่ตามกระแสวัตถุนิยม คือมีความพอเพียง ความพอใจในสิ่งที่มีอยู่ (5) มีความพร้อมเพียง มีความสามัคคีของหมู่คณะ 3) การเสริมสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันของชุมชนในสังคมไทยทั้ง 4 ภาคมีความสอดคล้องกัน ในมิติการใช้ศีล 5 เป็นพื้นฐานในการสร้างกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเกิดพฤติกรรมดีของคนในชุมชน ดังโครงการสวดมนต์วันอาทิตพิชิตมาร อีกทั้งได้บูรณาการหลักศีล 5 เข้ากับการดำเนินชีวิตประจาวันโดยที่ไม่ทำให้ศีล 5 กระทบต่อวิถีชีวิตตามปกติ 4) ผลการวิเคราะห์เชิงยืนยันองค์ประกอบหลักศีล 5 สาหรับสร้างเกณฑ์มาตรฐานการดำเนินชีวิตของชุมชนในสังคมไทยตามหลักศีล 5 ผลการวิเคราะห์ยืนยันองค์ประกอบหลักศีล 5 ปรากฏว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี น้าหนักองค์ประกอบของมาตรฐานมีค่าเป็นบวก อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ทุกตัว มาตรฐานที่มีน้าหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ ศีลข้อที่ 1 กับศีลข้อที่ 4 แสดงถึงพฤติกรรมการมีศีล ไม่มีการเบียดเบียนผู้อื่น และผู้ตรงไปตรงมา รองลงมาคือ ศีลข้อที่ 2 และต่ำสุดคือศีลข้อที่ 5 เนื่องจากสังคมส่วนหนึ่งมองว่าการดื่มสุรา หรือดื่มของมึนเมา หากไม่เมาถือว่าไม่ผิดศีล อีกทั้งการดื่มสุรายังมีผลต่อการบำรุงดูแลสุขภาพเป็นอายุวัฒนะ ผลค่าน้าหนักอยู่ในระดับต่ำตามความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติ
References
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2558). ศีล 5 คุณค่าของชีวิตและสังคม. สนับสนุนโดย โครงการเสริมสร้างสุขภาวะและการเรียนรู้ตามแนวพระพุทธศาสนา สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สานักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร และสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี: บริษัท ดีไซน์ ดีไลท์ จำกัด.
พระเมธีวราภรณ์ (สุทัศน์ วรทสฺสี). (2552).เบญจศีลเบญจธรรม: อุดมชีวิตของมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ต้นบุญ.
พระราชสีมาภรณ์. (2546). พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สาลี รักสุทธี. (2543).ศีล สุดยอดวินัยของศาสนาพุทธ. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2548). ศีล 5 ฉบับคู่มือรักษาใจ “ศีลปาโล”. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น