ประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี
คำสำคัญ:
ประสิทธิผลการบริหารงาน, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, หลักพุทธธรรมบทคัดย่อ
การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี และ 3. เพื่อเสนอรูปแบบประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อมตามหลักพุทธธรรมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.989 เก็บข้อมูลด้วยตัวเองกับกลุ่มตัวอย่าง 400คน จากประชากรที่มีอายุ 18 ปีขั้นไป ที่มีภูมิลาเนาอยู่ในเขตเทศบาล 17 แห่ง ในจังหวัดนนทบุรี ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลหลัก 22 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่มีโครงสร้าง และจากผู้มีส่วนร่วมในการสนทนากลุ่มเฉพาะ จานวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X=3.39) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการดูแลรักษาที่สาธารณะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X=3.60) ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและบำรุงรักษาป่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวด ล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า การบริหารงานของเทศบาล ส่งผลต่อประสิทธิผลการ บริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่าค่า R Square เท่ากับ .713 หมายความว่า ตัวแปรต้นทั้ง 8 ตัว มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม มีความ สามารถอธิบายตัวแปรตามได้ในระดับร้อยละ 71.30 พบว่าค่า Sig. เท่ากับ 0.01 มีนัยสำคัญทางสถิติ และหลักพุทธธรรม (หลักสัปปุริสธรรม 7) ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่าค่า R Square เท่ากับ .738 หมายความว่า ตัวแปรต้นทั้ง 8 ตัว ที่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตาม มีความสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ในร้อยละ 73.80 พบว่าค่า Sig. เท่ากับ 0.01 มีนัยสำคัญทางสถิติ จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย 3. รูปแบบการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี พบว่า 1) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาป่าของเทศบาลในจังหวัดนนทบุรี ต้องปรับไปตามโครงสร้างของเมือง ควรมีการรณรงค์ส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ยืนต้น บริเวณริมถนนทั้งสองข้าง และสร้างสวนสาธารณะเพิ่มมากขึ้นเพื่อทดแทนป่าไม้ตามธรรมชาติ 2) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษ เทศบาลต้องเน้นใน 3 เรื่อง เรื่องขยะมูลฝอย เรื่องมลพิษทางอากาศ และ เรื่องมลพิษทางน้า 3) ด้านการดูแลรักษาที่สาธารณะ เทศบาลควรใช้ประโยชน์จากที่ดินให้มาก เช่น เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น โดยการจัดสร้างสวน สาธารณะขนาดเล็ก ในชุมชนต่างๆ ให้มากขึ้น
References
________. (24 สิงหาคม 2550). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 25500. เล่มที่ 124 ตอนที่ 47 ก.
สุภางค์ จันทวานิช.(2552). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิชาติ พานสุวรรณ. (2557). “การพัฒนาคุณลักษณะผู้นาชุมชนในเขตเทศบาลจังหวัดพระนครศรี อยุธยา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณทิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณทิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Alan Norton. (1994). International Handbook of Local and Regional Government: A Comparative Analysis of Advance Democracies. Vermont: Edward Elgar.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2020 วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น